พินิจการประกอบสร้างความหมายทางอุดมการณ์ในละครโทรทัศน์ "บุพเพสันนิวาส" และ "พรหมลิขิต" ที่ส่งผลต่อการรื้อฟื้นวัฒนธรรมไทย

Main Article Content

วิภาวี ฝ้ายเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้ มุ่งศึกษาวิเคราะห์กลวิธีประกอบสร้างความหมายระดับอุดมการณ์ของ ละครโทรทัศน์เรื่อง “บุพเพสันนิวาส” และ “พรหมลิขิต” ในแง่ที่มีผลต่อการรื้อฟื้นวัฒนธรรมไทย โดยนำหลักการวิเคราะห์รหัสโทรทัศน์ของจอห์น ฟิสก์ รวมทั้งแนวคิดการรื้อฟื้นวัฒนธรรม ด้วยขบวนการพื้นเมืองของ ราล์ฟ ลินตัน มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ซึ่งพบว่าแม้พรหมลิขิต จะผลิตซ้ำตัวแทนเหตุการณ์ในอดีตโดยใช้อุดมการณ์บางประการที่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคมปัจจุบันและเป็นประโยชน์ต่อสังคมปัจจุบันสืบต่อมาจากบุพเพสันนิวาส ได้แก่ ไสยศาสตร์ พื้นเมืองนิยม ชาตินิยม มนุษยนิยม และสมัยใหม่นิยม แต่มีการใช้อุดมการณ์ต่างขั้วซึ่งส่งผลต่างกันต่อการรื้อฟื้นวัฒนธรรมของชาติ กล่าวคือ เมื่อพิจารณาจากบทนางเอกซึ่งเป็นตัวละครหลักจากยุคสมัยใหม่ บุพเพสันนิวาสใช้คติรวมหมู่นำเสนอความสุขที่เกิดจากการมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีและยกย่อง การอุทิศตนเพื่อชาติบ้านเมือง ในขณะที่พรหมลิขิตใช้อุดมการณ์ปัจเจกชนนิยมที่ให้ความสำคัญ กับการปกป้องอัตลักษณ์และผลประโยชน์ส่วนบุคคล แม้จะขัดแย้งกับบริบทสังคมวัฒนธรรม
สมัยกรุงศรีอยุธยาก็ตาม พรหมลิขิตจึงไม่ได้พาผู้ชมหลีกหนีจากสังคมทุนนิยมในปัจจุบันกลับไปหา ความผูกพันทางสังคมที่น่าพึงใจและความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมในอดีตกาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กฤษดา บุญชัย. 2566. นิเวศวัฒนธรรม จากมานุษยวิทยานิเวศสู่ขบวนการเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/517

กฤษณา วงษาสันต์. 2542. วิถีไทย. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

จตุพร นุตะศะริน. 2553. การทำนายความชื่นชอบงานโฆษณาที่วางกรอบสารต่างกันจากความเป็นปัจเจกชนนิยม-คติรวมหมู่ โดยมีเป้าหมายการควบคุมของบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2547. วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดลินิวส์ออนไลน์. 2566. ลั่นยกที่หนึ่ง! ศัลยาโต้ตอนจบ ‘พรหมลิขิต’ ตอกกลับบทละครรวบรัดเกิน-ทำไม่สนุก. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2566, จาก https://www.dailynews.co.th/news/3021303/ .

บรรเทิง พาพิจิตร. 2549. ประเพณี วัฒนธรรมไทย และความเชื่อ. กรุงเทพฯ:

โอเดียนสโตร์.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. 2560. มโนทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการออนไลน์. 2566. มาคุ!“แดง ศัลยา-รอมแพง” ตอนจบพรหมลิขิตบ้งเพราะใคร? ลั่นตำหนิดิฉันได้เลย เขียนนิยายไม่ดีพอเป็นละคร!. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2566, จาก https://mgronline.com/entertainment/detail/9660000114709.

พรรณทิภา จีนกลับ. 2551. การศึกษาวิเคราะห์นวนิยายไทยที่นำเสนอการเดินทางข้ามเวลา. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รจิตลักษข์ แสงอุไร. 2530. นิเทศศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์.

รุ่งธรรม ศุจิธรรมรักษ์. 2560. คนดีมีประโยชน์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาแนวคิดไทย: Thai Mind สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 7-15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. 2556. นิเวศวัฒนธรรมในความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ เล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. 2552. ความรู้เรื่องเมืองไทย. กรุงเทพฯ: วศิระ.

ไวภพ กฤษณสุวรรณ. 2561. ศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูกับพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สนิท สมัครการ. 2545. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาการของสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

สุชาติ บุษย์ชญานนท์. 2561. “ตามกระแสบุพเพสันนิวาส: มุมมองพุทธปรัชญา”. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 2 (1): 70.

อมรา พงศาพิชญ์. 2537. วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brand Buffet. 2561ก. บทเรียนการตลาดจาก “บุพเพสันนิวาส” เมื่อแบรนด์ต้องมีความเป็น “มนุษย์” ที่จับต้องได้. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2566, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/03/bubpaesuniwas-fever-authentic-real-time-marketing/.

_______. 2561ข. สัมภาษณ์พิเศษ อ.แดง-ศัลยา สุขะนิวัตติ์ ผู้เขียนบท “บุพเพสันนิวาส” จนขึ้นแท่นละครแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2566, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/03/salaya-sukanivatt-drama-writer-buppesannivas/.

Klausner, W. 2537. สะท้อนวัฒนธรรมไทย เล่ม 1. (แปลโดย ขัตติยา กรรณสูต).

กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ. (ตนฉบับพิมพเมื่อ 1987, ภาษาอังกฤษ).

Marketingoops. 2558. “ชนชั้นกลางขั้นเทพ” ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ต้องรู้จัก. ค้นเมื่อ

ธันวาคม 2566, จาก https://www.marketingoops.com/reports/research/hakuhodo-research-middle-class-asean/#:~:text.

ภาษาต่างประเทศ

Fiske, John. 1990. Television Culture. New York: Routledge.

Samovar, L., Porter, R., McDaniel, E., & Roy, C. 2017. Communication Between Culture. 9th edition. Massachusetts: Cengage Learning.