ภาษาวรรณศิลป์และโลกทัศน์ที่ปรากฏในวรรณกรรม เรื่องสั้น “หลวงตา” ของ “แพรเยื่อไม้”

Main Article Content

หนึ่งฤทัย เสียมทอง
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาวรรณศิลป์และโลกทัศน์ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสั้น “หลวงตา” ของ “แพรเยื่อไม้” โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากวรรณกรรมเรื่องสั้น “หลวงตา” ปี พ.ศ. 2516 ซึ่งมีทั้งหมด 13 ตอน อีกทั้งใช้แนวคิดด้านวรรณศิลป์และโลกทัศน์ที่ปรากฏ ในวรรณกรรมในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยภาษาวรรณศิลป์และโลกทัศน์ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสั้น “หลวงตา” ของ “แพรเยื่อไม้” พบว่าลักษณะการใช้ภาษาวรรณศิลป์ประเภทการใช้คำแสดงอารมณ์ คำศัพท์บัญญัติหรือศัพท์เทคนิค คำภาษาต่างประเทศ คำต่ำหรือคำหยาบ คำย่อ คำมีศักดิ์ ด้านภาพพจน์ พบลักษณะการใช้ภาพพจน์แบบอุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ บุคคลวัต นามนัย การอ้างถึงหรือเท้าความ แนวเทียบ สัทพจน์ ปฏิปุจฉา ส่วนโลกทัศน์ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสั้น “หลวงตา” ของ “แพรเยื่อไม้” พบลักษณะของโลกทัศน์จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. โลกทัศน์ต่อศาสนาโดยเน้นเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอน ศาสนสถาน พระพุทธเจ้า 2. โลกทัศน์ต่อสังคมโดยเน้นเกี่ยวกับศีลธรรม แหล่งสถานบันเทิง โรคภัยไข้เจ็บ 3. โลกทัศน์ต่อมนุษย์โดยเน้นเกี่ยวกับความเชื่อ ความรัก 4. โลกทัศน์ต่อการเมืองเกี่ยวกับระบบการปกครอง 5. โลกทัศน์ต่อการศึกษาโดยเน้นเกี่ยวกับบุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษา อาชีพ และ 6. โลกทัศน์ต่อธรรมชาติโดยเน้นเกี่ยวกับชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำชัย ทองหล่อ. 2531. หลักภาษาไทย ท ๒๐๓-๒๐๔. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

เกศินี จุฑาวิจิตร. 2550. ภาพสะท้อนสังคมและโลกทัศน์นักเขียนจากเรื่องสั้น ยุควิกฤต

เศรษฐกิจ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ชญานนท์ เนื่องวรรณะ และคณะ. 2565. “กลวิธีการใช้ภาษาในบทกวีนิพนธ์ ของพิบูลศักดิ์ ละครพล.” วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ 10 (2): 162-178.

ชำนาญ รอดเหตุภัย. 2523. สัมมนาการใช้ภาษาปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

เทียมจันทร์ หมั่นสระเกษ. 2542. “การศึกษาโลกทัศน์ในจารึกสุโขทัย.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปราณี กุลละวณิช และคณะ. 2535. ภาษาทัศนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พรรณษา พลอยงาม และคณะ. 2564. “กลวิธีทางภาษาที่สะท้อนมุมมองความรักในนวนิยายรักของศิลปินแห่งชาติ.” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (7): 3053-3066.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิเชียร เกษประทุม. 2557. หลักภาษาไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. 2548. เจิมจันทน์กังสดาล:ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ จันทรวงศ์. 2537. โลกทัศน์ของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

สมเกียรติ รักษ์มณี. 2551. เอกสารคำสอนรายวิชา 361322 ภาษาวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุมาลี แก่นการ. 2548. “โลกทัศน์ของเทียนวรรณ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุกานดา ลี้วิบูลย์ศิลป์. 2560. “โลกทัศน์ในรวมเรื่องสั้นของนามกาว.” วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.