การพรรณนาความและวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับก๋ง”

Main Article Content

Yan Wu
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

การใช้บทพรรณนาจัดเป็นศิลปะแห่งการใช้ภาษาเพื่อ “วาด” ให้เกิดเป็นภาพในจิตของผู้อ่าน ผู้อ่านจะประจักษ์หรือรับรู้รูปที่เป็นเสมือนการบันทึกภาพในบริบทของสังคมร่วมสมัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการพรรณนาความและวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับก๋ง” ของ “หยก บูรพา” ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558 โดยประยุกต์แนวคิดด้านการพรรณนาความและประเภทของวัฒนธรรมมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การพรรณนาความที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับก๋ง” มี 3 ประเภท ได้แก่ 1. การพรรณนาภาพ ประกอบด้วยการพรรณนาภาพสถานที่ การพรรณนาภาพบุคคลและการพรรณนาภาพบรรยากาศ 2. การพรรณนาอารมณ์ ประกอบด้วยการพรรณนาอารมณ์เศร้าและการพรรณนาอารมณ์กลัว และ 3. การพรรณนาโดยใช้ความเปรียบ ประกอบด้วยการพรรณนาโดยใช้ความเปรียบประเภทอุปมา ความเปรียบประเภทอุปลักษณ์ ความเปรียบประเภทสัญลักษณ์ และความเปรียบประเภทบุคลาธิษฐาน ด้านวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับก๋ง” พบว่ามี 4 ด้าน ได้แก่ 1. วัฒนธรรมด้านมนุษยศาสตร์ ประกอบด้วยวัฒนธรรมเกี่ยวกับความคิดความเชื่อและวัฒนธรรมเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี 2. วัฒนธรรมด้านคหกรรมศิลป์ ประกอบด้วยวัฒนธรรมเกี่ยวกับเสื้อผ้า และวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหาร 3. วัฒนธรรมด้านการช่างฝีมือ ได้แก่ วัฒนธรรมเกี่ยวกับการจักสาน และ 4. วัฒนธรรมด้านศิลปะ ได้แก่ วัฒนธรรมเกี่ยวกับภาษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิตยา แก้วคัลณา. 2554. บทพรรณนาในกวีนิพนธ์ไทย. วารสารศิลปศาสตร์, 11(2), 57-71.

นิตยา แก้วคัลณา. 2557. บทพรรณนาในกวีนิพนธ์ไทย: ลีลา ความคิด และการสืบสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิโลบล วงศ์ภัทรนนท์. 2564. จาก ลอดลายมังกร สู่ เลือดข้นคนจาง: การนำเสนออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ไทย.

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 29(2), 76-103.

เพ็ญประภา เหล่าทะนนท์ และ ประณิตา จันทรประพันธ์. 2565. กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนในนวนิยายเรื่อง “ไชน่ามูน”. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร”. 10(2), 100-109.

รุจน์ หาเรือนทรง. 2556. วัฒนธรรมไทย. ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2567. จาก https://www.sw2.ac.th/images/user/root/soc31101/7soc.pdf.

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์ และคณะ. 2562. พื้นฐานการเขียนภาษาไทย. ยูนนาน: สำนักพิมพ์ประชาชนยูนนาน.

สิริวรรณ นันทจันทูล. 2552. บทพรรณนาโวหารในวรรณกรรมบันเทิงคดี: กรณีศึกษานวนิยายของทมยันตี. วารสารมนุษยศาสตร์. 16(1), 76.88

สุวัฒนา ลำไย และคณะ. 2562. การเปรียบเทียบการใช้ภาษาในหนังสือนวนิยายกับบทละครโทรทัศน์: กรณีศึกษาผู้ดีอีสาน. วารสารเกษมบัณฑิต. 20(2), 1-14.

หยก บูรพา. 2558. อยู่กับก๋ง. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ 1991, 2558.

Yuanyuan Li. 2560. ภาพสะท้อนคนไทยเชื้อสายจีนกลุ่มอั้งยี่ในนวนิยายชุดเลือดทระนง. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 12(3), 24-36.