บทเพลงบ่าววี: ลักษณะความเปรียบและการสร้างคำประสมด้านความรัก

Main Article Content

นรีกมล ไชยคำ
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเปรียบและลักษณะการสร้างคำประสมในบทเพลงบ่าววี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากช่องยูทูบ RsaimMusic จำนวน 100 บทเพลงและประยุกต์แนวคิดด้านการใช้ความเปรียบและการสร้างคำประสมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะความเปรียบที่ปรากฏในบทเพลงบ่าววี มีจำนวนทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ 1) ความเปรียบแบบอุปมา เช่น เปรียบหญ้าคากับหัวใจ 2) ความเปรียบแบบอุปลักษณ์ เช่น เปรียบมนุษย์เป็นพืช 3) ความเปรียบแบบสัญลักษณ์ เช่น เปรียบนาฬิกาเป็นลมหายใจ 4) ความเปรียบแบบบุคลาธิษฐาน เช่น เปรียบหุ่นไล่กาให้เป็นสิ่งมีชีวิต และ 5) ความเปรียบแบบอธิพจน์ เช่น เปรียบน้ำตาที่รินไหลเหมือนน้ำในเขื่อน ซึ่งความเปรียบที่ปรากฏในบทเพลงส่วนใหญ่แสดงให้เห็นด้านความรักที่เปรียบเทียบกับธรรมชาติ ส่วนการสร้างคำประสมด้านความรักในบทเพลงบ่าววี ผู้วิจัยพบว่ามีลักษณะการสร้างคำประสมด้านความรัก 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) คำประสมที่มีส่วนหลักเป็นคำเดี่ยว + ส่วนขยายเป็นคำเดี่ยว เช่น ความเหงา 2) คำประสมที่มีส่วนหลักเป็นคำเดี่ยว + ส่วนขยายเป็นกลุ่มคำ เช่น
การเอาใจ ซึ่งคำประสมที่ปรากฏในบทเพลงแสดงมุมมองความสัมพันธ์ด้านความรักที่มีทั้งความสมหวังและไม่สมหวัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย

กาญจนา นาคสกุล. 2516. “แบบการเสริมสร้อยในภาษาไทยและเขมร” กรองภาษาและวรรณกรรม. พระนคร : ศรีเมืองการพิมพ์

ข่าวสด sanook. 2559. 10 ปีที่รู้จัก “บ่าววี อาร์สยาม” นักร้องแดนสะตอ ลูกทุ่งสำเนียงใต้. จาก https://www.sanook.com/music/2379201/.

ชุมพร ทูโคกกรวด และคณะ. 2562. วจนะมงคลในพื้นที่ถิ่นอีสานกับการใช้โวหารภาพพจน์. วารสารช่อพะยอม. 30(2), 89-97.

ดวงใจ ไทยอุบุญ. 2552. ทักษะการเขียนภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญยงค์ เกศเทศ. 2536. แลลอดวรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียน

สโตร์.

บรรจบ พันธุเมธา. 2520. ลักษณะภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เปลื้อง ณ นคร. 2497. คำบรรยายวิชาคำประพันธ์และหนังสือพิมพ์. พระนคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. 2535. หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ราตรี ธันวารชร. 2551. การสร้างคำในภาษาไทยสมัยอยุธยา : วิธีสร้างคำประสม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ราชบัณฑิตยสถาน. 2554. จาก https://dictionary.orst.go.th/.

สมเกียรติ รักษ์มณี. 2538. โวหารภาพพจน์ในบทเพลงของ ธงไชย แมคอินไตย์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 3(1), 55-63.

ภาษาต่างประเทศ

Noss, Richard B. 1971. Thai Reference Grammar. Bangkok : English Language Center of University Development Commission.