การวิเคราะห์รสวรรณคดีไทยที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน

Main Article Content

สนธยา นิกูลรัมย์
สุธาทิพย์ พุ่มพวง
สำราญ ธุระตา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์รสวรรณคดีไทยที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน
มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รสวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับบทประพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยวิเคราะห์ตามทฤษฎีรสวรรณคดีไทย ผลการศึกษาพบว่า วรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนฉบับบทประพันธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏรสวรรณคดีไทยครบทั้ง 4 รส ได้แก่ เสาวรจนี นารีปราโมทย์ พิโรธวาทัง และสัลลาปังคพิสัย นอกจากนี้ยังพบว่า
รสวรรณคดีที่พบมากที่สุด คือสัลลาปังคพิสัย จำนวน 23 ตอน รองลงมา คือ พิโรธวาทัง จำนวน
22 ตอน นารีปราโมทย์ จำนวน 12 ตอน และเสาวรจนี จำนวน 10 ตอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา รักษมณี. 2543. การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงมน จิตรจำนงค์. 2536. สุนทรียภาพในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศยาม.

ทรัพย์ ประกอบสุข. 2525. วรรณคดีชาดก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

นุชรี ขุนน้ำ. 2556. รสวรรณคดีไทยในกลอนบทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยพะเยา.

บรรเทา กิตติมศักดิ์ และกัมพุชานาฏ เปรมกลม. 2534. หนังสือเรียนภาษาไทยรายวิชา ท 033 วรรณคดีมรดก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. 2518. แนวทางการศึกษาวรรณคดี ภาษากวี การวิจักษณ์และวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เปลื้อง ณ นคร. 2545. ประวัติวรรณคดีสำหรับนักศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 13 กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ยมโดย เพ็งพงศา. 2543. ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณศิลป์กับคีตศิลป์ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8(9-10): 114-127.

รัตนพล ชื่นค้า. 2556. คุณค่าทางวรรณศิลป์ในบทละครเรื่องขุนช้างขุนแผนพระราชนิพนธ์ในสมเด็จ พระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วันที่ 11 กรกฎาคม 2556 ณ โรงละครวังหน้า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพฯ.

ศรีวิไล ดอกจันทร์. (2529). ภาษาและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุกัญญา

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2562). วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.