“กฎหมายตราสามดวง : รูปแบบอักขรวิธีไทย และสัมพันธสาร”

Main Article Content

วัชรพงศ์ โคตรนารินทร์
Yuxi Yang
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบอักขรวิธีไทย และสัมพันธสาร ในกฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่ม 1 และ 2 พบรูปแบบอักษรโดยมีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวเลข และเครื่องหมาย พบพยัญชนะจำนวน 43 รูป คือ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ พบสระมีทั้งหมด 24 รูป คือ ‘ะ ‘า ิ ี ึ ื ุ ู เ‘ะ เ‘ แ‘ะ แ‘ โ‘ เ‘าะ ‘อ เีย เ ือ ัว ํา ไ‘ ใ‘ เ‘า เ‘อ ฤ
ส่วนวรรณยุกต์ พบว่า มีทั้งวรรณยุกต์เอก (่) วรรณยุกต์โท (้) และวรรณยุกต์จัตวา (๋) ตัวเลขพบว่า มีจำนวน 10 ตัว คือ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ส่วนเครื่องหมายพบว่า มีการใช้เครื่องหมายโดยเฉพาะ เช่น การใช้เครื่องหมายตีนครุ (฿) เครื่องหมายอังคั่นคู่ (๚ะ) โคมูตร (๛) เครื่องหมายสัญลักษณ์ปีกกาเหยียด () ) และเครื่องหมายละสุด ( ะ ) และด้านรูปแบบอักขรวิธีไทยพบลักษณะพิเศษทั้งด้านการใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เครื่องหมาย และตัวเลข ส่วนด้านการศึกษาสัมพันธสารในเอกสารกฎหมายตราสามดวง พบทั้ง 4 ประเภท คือ สัมพันธสารเรื่องเล่า สัมพันธสารอรรถาธิบายความ สัมพันธสารโน้มน้าวหรือสั่งสอน และสัมพันธสารกระบวนการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. 2554. จากลายสือไทยสู่อักษรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธิชา บำรุงรักษ์. 2539. การวิเคราะห์ภาษาระดับข้อความประเภทต่าง ๆ ในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทพี จรัสจรุงเกียรติ. 2543. หน่วยเชื่อมโยงปริจเฉทภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช ปุณโณทก. 2553. วิวัฒนาการภาษาไทย และอักษรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย ภูหลวง และ พันธรัตน์ ศรีสุวรรณ์. 2560. “ความสัมพันธ์ระหว่างผัวเมีย: กรณีศึกษาจากกฎหมายตราสามดวงในพระไอยการลักษณผัวเมีย.” วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5 (2): 1-17.

ผะอบ โปษะกฤษณะ. 2554. ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย การเขียน การอ่าน การพูด การฟัง และราชาศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัทรวมสาส์น

ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. กฎหมายตราสามดวง (2 เล่ม). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. 2541. ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาภรณราชวิทยาลัย.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. 2533. ภาษาและภาษาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. 2550. วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตย์ ศรีจันทร์. 2552. “องค์พยานในการกระทำสัตย์สาบานในพระไอยการลักษณะพยานและลักษณะพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง.” วารสารมนุษยศาสตร์ 16 (2): 133-146.