ตานก๋วยสลาก : วัฒนธรรมชาวพุทธในจังหวัดน่าน

Main Article Content

ชำนาญ เกิดช่อ

บทคัดย่อ

ตานก๋วยสลากหรือการถวายสลากภัต เป็นวัฒนธรรมชาวพุทธในเขตภาคเหนือของประเทศไทย โดยทายกทายิกานำเครื่องไทยธรรมบรรจุลงในก๋วยหรือกระเช้าแล้วนำมาถวายแก่พระสงฆ์ด้วยวิธีจับสลาก เป็นประเพณีที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตมาแต่ครั้งพุทธกาล มีบุคคลสำคัญที่เป็นต้นแบบคือนางกาลียักษิณี ชาวพุทธในจังหวัดน่านนิยมตานก๋วยสลากเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายเดือนกันยายน-ตุลาคม โดยเชื่อกันว่าการตานก๋วยสลากมีอานิสงส์มาก เหมือนกับการถวายสังฆทาน เพราะเป็นการถวายแบบไม่เจาะจง วัฒนธรรมตานก๋วยสลากที่โดดเด่นในจังหวัดน่าน คือ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารและวัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). 2553. พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ อธิบายศัพท์และแปลความหมายคำวัด ที่ชาวพุทธควรรู้. กรุงเทพฯ : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). 2558. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาสิงห์คำ รักป่า. 2543. การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์อานิสงส์ล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน. 2566. สลากภัต หรือตานก๋วยสลาก. สืบค้น 24 กันยายน 2567, จาก https://shorturl.asia/4Ff9N

มติชนสุดสัปดาห์. 2566. กวยสลาก. สืบค้น 24 กันยายน 2567, จาก https://www. matichonweekly.com/column/article_726743

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช-วิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2546. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สำนักการสังคีต. 2565. ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร. สืบค้น 17 กันยายน 2567, จาก https://shorturl.asia/3dNO1

สันติไฌญ จารุพิพัฒน์บุตร และ นที มีเดช. 2567. สวยงาม พิธีตานก๋วยสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารและคำกล่าวลารองพ่อเมืองน่านในครั้งสุดท้ายของชีวิตราชการ. สืบค้น 17 กันยายน 2567, จาก https://shorturl.asia/87jkx

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกล้วย จังหวัดพะเยา. งานสลากภัต. สืบค้น 17 กันยายน 2567, จาก https://shorturl.asia/H0mlQ

org. 2548. อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ 1 เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี, สืบค้น 17 กันยายน 2567, จาก https:// 84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=4