ผลตอบแทนและความเสี่ยงในระยะยาวของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ: หลักฐานเชิงประจักษ์จากตลาดการเงินไทย

Main Article Content

ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ได้ทำการประมาณค่าผลตอบแทนและความเสี่ยงของสินทรัพย์หลักทั้ง 4 ประเภทได้แก่ หุ้นสามัญ พันธบัตรรัฐบาลระยะยาว พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น และทองคำ โดยผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลา 42 ปีดังกล่าว (ค.ศ. 1976-2017) การลงทุนในดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้ผลตอบแทนรวมเฉลี่ยสูงที่สุดที่ร้อยละ 12.46 ต่อปี แต่การลงทุนก็มีความผันผวนที่วัดด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลตอบแทนรวมรายปีที่สูงถึงร้อยละ 42.62 ต่อปี ส่วนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี (ซึ่งเป็นตัวแทนของพันธบัตรฐบาลระยะยาว) ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาล 1 ปี (ซึ่งเป็นตัวแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น) ให้ผลตอบแทนรวมเฉลี่ยตามมาที่ร้อยละ 7.70, ร้อยละ 6.63, และร้อยละ 6.58 ต่อปีตามลำดับ โดยพันธบัตรรัฐบาลทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีความผันผวนต่ำมากที่ประมาณร้อยละ 3.55-4.14 ต่อปี เท่านั้น ส่วนทองคำมีความผันผวนสูงถึงร้อยละ 24.79 ต่อปี เมื่อดูผลตอบแทนรวมที่แท้จริง (Total Real Return) ทั้งหุ้นสามัญ พันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปี และ 1 ปี และทองคำ ต่างก็ให้ผลตอบแทนรวมที่แท้จริงสูงถึงร้อยละ 7.55, ร้อยละ 3.51, ร้อยละ 2.40 และร้อยละ 2.28 ต่อปีตามลำดับ จึงถือได้ว่าสินทรัพย์ทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวสามารถป้องกันความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
Articles

References

Baur, D. G., & Lucey, B. M. (2010). Is gold a hedge or a safe haven? an analysis of stocks, bonds and gold. The Financial Review, 45, 217-229.
Benartzi, S., & Thaler, R. H. (1995). Myopic loss aversion and the equity premium puzzle. The Quarterly Journal of Economics, 110(1), 73-92.
Blose, L. E. (2010). Gold prices, cost of carry, and expected inflation. Journal of Economics and Business, 62(1), 35-47.
Damodaran, A. (2018). Equity Risk Premiums (ERP): Determinants, Estimation and Implications – The 2018 Edition. Retrieved from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3140837.
Dimson, E., Marsh, P., & Staunton, M. (2017). Credit Suisse Global Investment Returns Yearbook 2017, Zurich: Credit Suisse Research Institute. Retrieved from https://realestateforums.net/uploads/default/original/2X/6/6f507e741488a2f154402274203eaff68330d40f.pdf.
Donadelli, M., & Prosperi, L. (2011). The Equity Risk Premium: Empirical Evidence from Emerging Markets, Working Paper, Retrieved from http://ssrn.com/abstract=1893378.
Hillier, D., Draper, P., & Faff, R. (2006). Do precious metals shine? An investment perspective. Financial Analysts Journal 62(2), 98–106.
Mehra, R., & Prescott, E. C. (2014). The equity premium: A puzzle. Journal of Monetary Economics, 15(2), 145-161.
Mehra, R. (2003), The equity premium puzzle: Why is it a puzzle? (corrected). Financial Analysts Journal, 59(1), 54-69.
Salomons, R. & Grootveld, H. (2003). The equity risk premium: Emerging vs Developed Markets. Emerging Markets Review, 4(2), 121-144.
Sharma, S. (2016). Can consumer price index predict gold price returns?. Economic Modelling, 55(C), 269-278.
Siegel, J. J. (1998). Stocks for the Long Run. 3rd edition. New York. McGraw-Hill.
Siegel, J. J. (2005). Perspectives on the Equity Risk Premium, Financial Analysts Journal, 61(6), 61-73.
Tkacz, G. (2007). Gold prices and inflation, Bank of Canada Working Paper 2007-35. Retrieved from https://www.bankofcanada.ca/wp-content/uploads/2010/02/wp07-35.pdf.
Worthington, A. C., & Pahlavani, M., (2007). Gold investment as an inflationary hedge: cointegration evidence with allowance for endogenous structural breaks. Applied Financial Economics Letter, 3, 259–262.