การประเมินผลตอบแทนและความเสี่ยงตามกรอบระยะเวลาและสภาวะเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์สำหรับพิจารณาการลงทุนตามกรอบระยะเวลาและสภาวะเศรษฐกิจ โดยกลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์จะสร้างจากการนำอัตราส่วน ROA, PBV, และ PE ของแต่ละบริษัทที่อยู่ในดัชนี SET ไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย (Mean) และค่ามัธยฐาน (Median) ของอัตราส่วนทางการเงินในแต่ละหมวดธุรกิจและนำมาจัดเป็นกลุ่มหลักทรัพย์เพื่อสร้าง Portfolio ตามทฤษฎีกลุ่มหลักทรัพย์ของ Markowitz โดยผลการศึกษาพบว่าหากนักลงทุนมีระยะเวลาการลงทุนในระยะสั้นควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกกลุ่มที่ 3 สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ ระดับปานกลางค่อนข้างสูงจนถึงระดับสูงมาก และหากนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำควรเลือกใช้กลยุทธ์กลุ่มที่ 25 ขณะที่นักลงทุนที่มีระยะเวลาการลงทุนในระยะกลางและระยะยาวควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกกลุ่มที่ 3 ซึ่งจะทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงที่สุดในทุก ๆ ระดับความเสี่ยง สำหรับผลการศึกษากลยุทธ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ตามสภาวะเศรษฐกิจ พบว่าในช่วงสภาวะเศรษฐกิจแบบขยายตัว หากนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำจนถึงระดับสูงมากควรเลือกใช้กลยุทธ์การคัดเลือกกลุ่มที่ 35 และเลือกใช้กลยุทธ์กลุ่ม 11 เมื่อรับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำ ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจแบบชะลอตัวควรเลือกใช้กลยุทธ์กลุ่มที่ 19 เมื่อนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ในระดับสูงถึงสูงมาก และเลือกใช้กลยุทธ์กลุ่มที่ 31 สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ในระดับต่ำถึงปานกลางค่อนข้างสูง
Article Details
Copyright to published manuscripts becomes the property of the Graduate School of Development Economics, National Institute of Development Administration. Reproduction of all or part of a Development Economic Review (DER) article by anyone, excluding author(s), is prohibited, unless receiving our permission.
References
Chhaya, G., & Nigam, P. (2015). Value Investing with Price-Earnings Ratio in India. IUP Journal of Applied Finance, 21(2), 34-48.
Cho, S.-S., Shin, J.-S., & Byun, J. (2012). The Value of a Two-Dimensional Value Investment Strategy: Evidence from the Korean Stock Market. Emerging Markets Finance and Trade, 48(sup2), 58-81. doi:10.2753/REE1540-496X48S204.
Choi, B. P., & Mukherji, S. (2010). Optimal Portfolios For Different Holding Periods. Journal of Business & Economics Research, 8(10), 1-6. doi:10.19030/jber.v8i10.768
Jensen, G. R., & Mercer, J. M. (2003). New evidence on optimal asset allocation. Financial Review, 38(3), 435-454. doi:10.1111/1540-6288.00054
Kwag, S.-W., & Whi, S. (2006). Value investing and the business cycle. Journal Of Financial Planning -Denver-, 19(1), 64-71.
Lambrechts, H., & Roos, M. (2017). Applying Joel Greenblatt's value investment strategy to the Johannesburg Stock Exchange. Bestuursdinamika / Management Dynamics, 26(1), 2-15.
Leivo, T., & Pätäri, E. (2009). The impact of holding period length on value portfolio performance in the finnish stock markets. Journal of Money, Investment and Banking, 2(8), 71-86.
Li, B., Liu, B., Bianchi, R., & Su, J.-J. (2012). Stock returns and holding periods. JASSA The Finsia Journal of Applied Finance(2), 43-48.
Noma, M. (2010). Value investing and financial statement analysis. Hitotsubashi Journal of Commerce and Management, 44(1), 29-46. doi:10.15057/18701
Sareewiwatthana, P., & Janin, P. (2017). Tests of quantitativeinvesting strategies of famous investors: Case of Thailand. InvestmentManagement and Financial Innovations, 14(3), 218-226. doi:10.21511/imfi.14(3-1).2017.06
Sareewiwatthana, P. (2013). Common financial ratios and value investing in Thailand. Journal of Finance and Investment Analysis, 2(3), 69-85.
Vanstraceele, P., & Allaeys, L. (2010). Studying different Systematic Value Investing Strategies on the Eurozone stock market.
Ye, Y. (2013). Application of the stock selection criteria of three value investors, Benjamin Graham, Peter Lynch, and Joel Greenblatt: A case of shanghai stock exchange from 2006 to 2011. International Journal of Scientific and Research Publications,, 3(8), 1-7.
นิธิชัย ปึงตระกูล. (2558). กลยุทธ์ในการลงทุนโดยใช้อัตราส่วนสำคัญทางการเงินเพื่อแบ่งแยกบริษัทที่ให้อัตราผลตอบแทนมากกว่าตลาด (winners) และ บริษัทที่ให้อัตราผลตอบแทนน้อยกว่าตลาด (losers) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา. (2558). การลงทุนแบบเน้นคุณค่าในประเทศไทยประเด็นของจำนวนหุ้นและระยะเวลาการถือครองที่เหมาะสม. วารสารบริหาธุรกิจ นิด้า, 16(พฤษภาคม), 5-25.
รุจิเรศ แซ่อื้อ. (2560). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนที่ประกอบด้วยสินทรัพย์หลายประเภทและมีระยะเวลาของการปรับพอร์ตการลงทุนที่แตกต่างกัน (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วรรณวรางค์ ศรีนวกุล. (2560). เมจิกฟอร์มูล่าและอัตราส่วนทางการเงินในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). ตลาดการเงินและการลงทุนในหลักทรัพย์: หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 19 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.