บทความอุปสงค์และอุปทานการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องอุปสงค์และอุปทานการท่องเที่ยวโดยชุมชนของอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น มีขอบเขตด้านเนื้อหาครอบคลุมข้อมูลอุปสงค์การท่องเที่ยว ด้านศักยภาพและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว มาตรฐานการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิดของการพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน และข้อมูลอุปทานการท่องเที่ยว ด้านพฤติกรรม แรงจูงใจและความต้องการทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่มีต่อรูปแบบการท่องเที่ยวและส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยว โดยคาดว่าผู้ประกอบการและผู้มีส่วนในการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน จะทราบข้อมูลระดับศักยภาพและความพร้อมของการท่องเที่ยว และนำไปใช้วางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์สูงสุดทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมให้กับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน และผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวไปปรับปรุงรูปแบบสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวให้สามารถสร้างความประทับใจสูงสุดให้กับนักท่องเที่ยว บนฐานของทรัพยากร ความพร้อม และศักยภาพของตนเอง เป็นรูปแบบที่สะท้อนตัวตน อัตลักษณ์ที่แตกต่างกันของผู้ประกอบการแต่ละท่าน ให้เกิดคุณค่าและมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ เป็นการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจต่อไป
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อรวบรวมข้อมูล ประเมินศักยภาพ และความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอภูผาม่าน 2. เพื่อสำรวจพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อรูปแบบการท่องเที่ยวในอำเภอภูผาม่าน ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (ผู้ให้ข้อมูล 5 คน) แบบสำรวจและแบบประเมินความพร้อมแหล่งท่องเที่ยว (10 แหล่ง) และสรุปด้วยการอธิบายเชิงเนื้อหา ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม (นักท่องเที่ยว 400 คน) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาด้านอุปทานการท่องเที่ยว ได้แก่ ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว เช่น ที่พักแรม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจในแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น พบว่า ศักยภาพและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.30) ศักยภาพและความพร้อมด้านการบริหารโดยรวม อยู่ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.36) โดยแหล่งท่องเที่ยวที่มีความพร้อมสูงสุด คือ อ้อมกอดขุนเขา (ค่าเฉลี่ย 2.67) และผลการศึกษาด้านอุปสงค์การท่องเที่ยว ที่ทำการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอภูผาม่าน ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม พ.ศ.2565 พบว่า ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจที่นักท่องเที่ยวเห็นด้วยมากที่สุด คือ ต้องการมาพักผ่อนหย่อนใจและหาความเพลิดเพลิน (ค่าเฉลี่ย 4.76) รองลงมา คือ ต้องการสัมผัสธรรมชาติที่สวยงาม (ค่าเฉลี่ย 4.39) และปัจจัยที่นักท่องเที่ยวต้องการมากที่สุด คือ ความสวยงามของทัศนียภาพ ความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ (ค่าเฉลี่ย 3.81) รองลงมา คือ การมีจิตใจในการให้บริการที่ดี มีความเป็นเจ้าบ้านที่ดี (ค่าเฉลี่ย 3.01) ตามลำดับ
Article Details
Copyright to published manuscripts becomes the property of the Graduate School of Development Economics, National Institute of Development Administration. Reproduction of all or part of a Development Economic Review (DER) article by anyone, excluding author(s), is prohibited, unless receiving our permission.
References
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร :
คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด
ศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4(1). 160-167.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ดีไซน์.
วลัยพร ริ้วตระกูลไพบูลย์. (2553). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สุวีร์ณัสญ์ โสภณศิริ. (2554). การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยว : ก้าวแรกสู่การเป็นผู้บริหารธุรกิจท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ (Tourist behavior analysis). กรุงเทพฯ : อินทนิล.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2556). เกณฑ์มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
Swarbrooke, J. and Susan, H.. (2007). Consumer behavior in Tourism. Butterworth Heinemann. : Oxford.