รายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยในอนาคต ภายใต้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกับค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพอนามัยในอนาคตของประเทศไทย โดยประมาณการแนวโน้มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและค่าใช้จ่ายในการดูแลในระยะยาว และวิเคราะห์แนวโน้มรายจ่ายภาครัฐด้านสุขภาพภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่มติดบ้านและติดเตียง ทำให้ พ.ศ. 2583 ค่าใช้จ่ายการดูแลในระยะยาวรวมทั้งสองกลุ่มสูงถึง 5 แสนล้านบาท ซึ่งจากผลการประมาณการรายจ่ายภาครัฐด้านสุขภาพเพื่อวิเคราะห์พื้นที่การคลัง โดยนำมารวมกับค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาวตามสถานการณ์ที่กำหนด แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงพอในการสนับสนุนดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระยะยาว โดยกระทรวงสาธารณสุขได้วางกรอบรายจ่ายรวมด้านสุขภาพไม่เกินร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งในสถานการณ์จำลองทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตแสดงให้เห็นว่า รายจ่ายด้านสุขภาพที่รวมค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาวด้วยนั้นในอีก 20 ปีข้างหน้าจะเกินกรอบรายจ่าย แม้แต่ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจของประเทศมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุด ยังใช้เวลาเกิน 10 ปีจึงจะเข้าสู่กรอบรายจ่ายภาครัฐด้านสุขภาพได้
Article Details
Copyright to published manuscripts becomes the property of the Graduate School of Development Economics, National Institute of Development Administration. Reproduction of all or part of a Development Economic Review (DER) article by anyone, excluding author(s), is prohibited, unless receiving our permission.