การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนหลังเกษียณอายุ ภายใต้ความไม่แน่นอนของอายุขัย

Main Article Content

Pariyada Sukcharoensin
Phoompos Boonthumjinda

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนในวัยเกษียณ เพื่อให้ได้อัตราถอนเงินสูงที่สุดและอัตราความผิดพลาดที่ยอมรับได้ ซึ่งพิจารณาสินทรัพย์ลงทุน 2 ประเภท ได้แก่ ตราสารหนี้และหุ้นสามัญ โดยใช้แบบจำลองมอนติคาร์โล (Monte Carlo Simulation) เพื่อหาอัตราความผิดพลาดของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน นอกจากนี้  การพัฒนาแบบจำลองในการศึกษาครั้งนี้ มีการใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นในการเสียชีวิตของแต่ละช่วงอายุซึ่งนำมาจากตารางมรณะของไทย เข้ามาช่วยในการประมวลผล เพื่อสะท้อนถึงความไม่แน่นอนของอายุขัย ซึ่งต่างจากการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณอายุโดยทั่วไป ที่กำหนดระยะเวลาที่คาดว่าจะดำรงชีวิตเป็นค่าคงที่ จากผลการศึกษาพบว่า ในช่วงเริ่มต้นของการเกษียณ ณ อายุ 55 และ 60 ปี ยังมีความจำเป็นที่ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงอย่างหุ้นสามัญ อย่างน้อยร้อยละ 65 เนื่องจากยังมีระยะเวลาที่คาดว่าจะดำรงชีวิตอยู่ยาวนานกว่า 20 ปี โดยมีอัตราถอนเงินที่เหมาะสมในช่วงแรกอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ถึง ร้อยละ 7.0 ขึ้นอยู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของนักลงทุน หลังจากนั้นเมื่อผู้เกษียณมีอายุมากขึ้น จะสามารถได้รับอัตราถอนเงินที่สูงขึ้นตามไปด้วย โดยควรลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญลงและเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้ตามอายุที่มากขึ้น เพื่อลดความผันผวนโดยรวมให้แก่กลุ่มสินทรัพย์ลงทุน

Article Details

บท
Articles

References

กรมกิจการผู้สููงอายุุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุุไทย พ.ศ. 2565. กรุุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)

ฉัตรชัย สิริเทวัญกุล. (2556). การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสมกับวัยเกษียณ. CMRI Working Paper 5/2556. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ห้องเรียนนักลงทุน. (2561). ตัวเลขเศรษฐกิจบอกจังหวะลงทุนหุ้น. ค้นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.set.or.th/set/education/html.do?innerMenuId=18& name=decode_search_invest_9

พิมพ์นิภา ทวีธนวิริยา และ ปริยดา สุขเจริญสิน. (2566). รายจ่ายด้านสุขภาพของประเทศไทยในอนาคต ภายใต้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกับค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาว. Development Economic Review 17(2): 57-80.

Bengen, W. P. (1994). Determining Withdrawal Rates Using Historical Data. Journal of Financial Planning, 7(4): 171-180.

Blanchett, D. M. (2007). Dynamic Allocation Strategies for Distribution Portfolios: Determining the Optimal Distribution Glide Path. Journal of Financial Planning, 20(12): 68-81.

Cooley, P. L., Hubbard, C. M., & Walz, D. T. (2011). Portfolio Success Rates: Where to Draw the Line. Journal of Financial Planning, 24(4): 48-60.

Harlow, W. V. (2011). Optimal Asset Allocation in Retirement: A Downside Risk Perspective. Putnam Institute – Retirement (June), 1-15.

Pfau, W. D. (2011). Nearly Optimal Asset Allocations in Retirement. Journal of Financial Planning’s Between the Issues, 24(9): 1-10.

Stout, R. G., & Mitchell, B. J. (2006). Dynamic Retirement Withdrawal Planning. Financial Services Review, 15: 117–131.

Terry, R. L. (2003). The Relation Between Portfolio Composition and Sustainable Rates. Journal of Financial Planning, 16(5): 64-72.