ปัญหาทางกฎหมายสิทธิบัตร: กรณีการประดิษฐ์เกิดจากปัญญาประดิษฐ์

Authors

  • อรณิชา สวัสดิชัย Bangkok University
  • อรรยา สิงห์สงบ

Keywords:

ปัญญาประดิษฐ์, การประดิษฐ์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ , สิทธิบัตร

Abstract

เมื่อปัญญาประดิษฐ์ได้รับการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลวิเคราะห์เชิงลึกให้คล้ายความฉลาดของมนุษย์ และสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการกระทำ กระทั่งมีความสามารถประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้เอง (AI-Generated Invention) โดยไม่จำเป็นต้องถูกแทรกแซง หรือควบคุมโดยมนุษย์ จึงเกิดประเด็นปัญหาทางกฎหมายว่าการประดิษฐ์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์นั้น ควรได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองสิทธิบัตรหรือไม่ มีความสอดคล้องกับนโยบายในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรอย่างไร และผู้ใดควรมีสถานะเป็นผู้ประดิษฐ์หรือผู้ทรงสิทธิบัตรในการประดิษฐ์ดังกล่าว ในการนี้ ผู้วิจัยจึงได้ศึกษานโยบายในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรซึ่งปรากฏในแนวคิดทฤษฎีต่างๆ หลักเกณฑ์การคุ้มครองสิทธิบัตรที่กำหนดไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบการตีความกฎหมายของประเทศที่เลือกศึกษาเกี่ยวเนื่องกับประเด็นการขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ โดยมุ่งที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การพัฒนาความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม และประเด็นปัญหาที่เกิดจากการปรับใช้กฎหมายสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าว รวมถึงแนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับความเหมาะสมในการนำกฎหมายสิทธิบัตรมาปรับใช้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กฎหมายสิทธิบัตรที่มีลักษณะเป็นสากลและบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัด อาทิ ประเด็นเกี่ยวข้องกับแนวคิดในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร ประเด็นเงื่อนไขในการขอรับสิทธิบัตร รวมถึงสิทธิของผู้ประดิษฐ์หรือผู้ทรงสิทธิบัตร ซึ่งอาจไม่สอดคล้องต่อการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น และส่งผลให้การประดิษฐ์ที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ไม่ได้รับความคุ้มครองตามแนวทางของกฎหมายที่เหมาะสม

References

พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522. (2542). แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542.

ภูมินทร์ บุตรอินทร์. (2561). กฎหมายกับปัญญาประดิษฐ์. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 47(3): 491-511.

Drahos, P. (2002). A Philosophy of Intellectual Property. Ashgate Publishing. epi welcomes its first Executive Director.

McLaughlin, M. (2018, January 7). Computer-Generated Inventions. From : https://ssrn. Com/abstract=3097822Mueller, J. M. (2020). Patent law. Wolters Kluwer.

Phillips, J. (2015). Butterworths intellectual property law handbook. Lexisnexis.

Ramalho, A. (2018). Patentability of AI-Generated Inventions: Is a Reform of the Patent

System Needed? SSRN Electronic Journal. https://doi.org/10.2139/ssrn.3168703

What Is AI? (n.d.). ResearchGate. Retrieved April 17, 2022, from https://www.researchgate. net/publication/343611353_What_Is_A

WIPO. (2021). Conversation on Intellectual Property (IP) and Artificial Intelligence (AI). From: https://www.wipo.int/edocs/mdocs/mdocs/en/wipo_ip_ai_3_ge_20/wipo_ipai_ 3_ ge20_inf_5.pdf.

Downloads

Published

2022-06-30

How to Cite

สวัสดิชัย อ. ., & สิงห์สงบ อ. . (2022). ปัญหาทางกฎหมายสิทธิบัตร: กรณีการประดิษฐ์เกิดจากปัญญาประดิษฐ์. APHEIT JOURNAL, 28(1), 1–12. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/254275

Issue

Section

Research Articles