ผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CIRC เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ การเขียนสรุปความ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • อรณิชา วิงวร -
  • สุกัลยา สุเฌอ
  • ราวรรณ จรัสรวีวัฒน์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้รูปแบบ CIRC, ความสามารถในการอ่านจับใจความ, ความสามารถในการเขียนสรุปความ, ความคงทนในการเรียนรู้

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CIRC  2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CIRC  3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CIRC กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 22 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CIRC วิชาภาษาไทย แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสรุปความ ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ ใช้การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดซ้ำหลายครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สูตร one-way repeated measure ANOVA พบว่า 1) ความสามารถในการอ่านจับใจความของกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIRC หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการเขียนสรุปความของกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ CIRC หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CIRC มีความคงทนในการเรียนรู้ โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนและหลังเรียน 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กนกวรรณ ภู่ทิม. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนสื่อความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับการสอนอ่านแบบปฏิบัติการ. หลักสูตรและการสอน.ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ. (2548). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : พี.เพรส จำกัด.

ธนวัฒน์ กิตติปัญโญ และรัตนปัญญานันท์. (2555). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรูปแบบการสอน CIRC. การศึกษามหาบัณฑิต, การสอนภาษาไทย, หลักสูตรและวิธีการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พเยาว์ สิ่งวี. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1, ครุศาสตรมหาบัณฑิต, หลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2536). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Slavin. (1994). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. Massaxhuestts : A simon & Schuster.

Downloads

Published

2022-12-28

How to Cite

วิงวร อ., สุเฌอ ส. ., & จรัสรวีวัฒน์ ร. . (2022). ผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบ CIRC เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ การเขียนสรุปความ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. APHEIT JOURNAL, 28(2), 1–13. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/256374

Issue

Section

Research Articles