การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ ความสามารถทางนวัตกรรม และความกล้าเสี่ยงส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันบนช่องทางออนไลน์ในพื้นที่ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท

Authors

  • พนิดา ตันศิริ -

Keywords:

การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ , ความสามารถทางนวัตกรรม , ความกล้าเสี่ยง , ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, พื้นที่ย่านนวัตกรรม

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ ความสามารถทางนวัตกรรม  และความกล้าเสี่ยง ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันบนช่องทางออนไลน์ในพื้นที่ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้ประกอบการที่ขายสินค้าออนไลน์ในพื้นที่ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท กรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 49.0 ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 38.8 และการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 58.5 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ ส่งผลทางบวกต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันบนช่องทางออนไลน์ในพื้นที่ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท รองลงมาคือความกล้าเสี่ยง และความสามารถทางนวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยทั้ง 3 ด้านร่วมกันพยากรณ์ความได้เปรียบทางการแข่งขันบนช่องทางออนไลน์ได้ ร้อยละ 23.4 และสามารถสร้างเป็นสมการในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้

          สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ

gif.latex?\widehat{y} = 1.551 + .260(X1) + .172(X2) + .191(X3); R2 = 0.234

          สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน

gif.latex?\widehat{Z} = .276(Z1) + .210(Z2) + .212(Z3)

References

เกวลี แก่นจันดา. (2565). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและการมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 71-85.

จารุพร ขันธนันท์, และ วสุธิดา นุริตมนต์.(2562, ตุลาคม-ธันวาคม). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาลูกค้าของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(108), 132-144.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2565). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้ง ที่ 15).

กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด. น.554-555.

นงเยาว์ อินทะนาม, อำภาศรี พ่อค้า, และกรกนก ดลโสภณ. (2563). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(4), 82-95.

พัทธมน ธุระธรรมานนท์, และ กังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์. (2565, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยธุรกิจคุณลักษณะของผู้ประกอบการและการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจเบเกอรี่ บนออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 16-31.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการจัดการนวัตกรรมซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุผลสำเร็จทางการตลาดและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการสินค้าเกษตรซึ่งจะนำไปสู่ผลการดำเนินงานขององค์การ. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566, จาก https://www.thonburi-u.ac.th/journal/Document/13-3-before/Journal13_3_11.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 -2570) . สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก http://www.nesdc.go.th

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). กล้วยน้ำไท ก้าวไกลสู่ย่านนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก https://www.nia.or.th/KIID

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). ย่านนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก https://www.nia.or.th/frontend/bookshelf/sP10duI7A9NzW/62d41b128af31.pdf

Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99-120.

Barney, J. B., Ketchen, D. J. Jr., & Wright, M. (2011). The future of resource-based theory: Revitalization or decline?. Journal of Management, 37(5), 1299-1315.

Baumback, Clifford. M. (1988). How to Organization and Operate a Small Business. New Jersey: Prentice-Hall.

Doulani, A., Sahebi, S., & Saberi, M. K. (2020). Assessing the entrepreneurial orientation of the librarians. Global Knowledge, Memory and Communication, 69(4/5), 253-268.

Frese, Michael. (2000). Success and Failure of Micro business Owners in Africa : A Psychological Approach. United States of America : Greenwood Publishing Group.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.).

Porter, M. E.(1985). Competitive Advantage. the United States of America: THE FREE PRESS.

Rhee, J., Park, T., & Lee, D. H. (2010). Drivers of innovativeness and performance for innovative SMEs in South Korea: Mediation of learn in orientation. Technovation, 30(1), 65-75.

Wutthirong, P. (2015). Innovation management: Resource, learning organization and innovation. Chulalongkorn University Press.

Downloads

Published

2023-06-30

How to Cite

ตันศิริ พ. (2023). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ ความสามารถทางนวัตกรรม และความกล้าเสี่ยงส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันบนช่องทางออนไลน์ในพื้นที่ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ำไท. APHEIT JOURNAL, 29(1), 95–110. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/apheit-ss/article/view/264359

Issue

Section

Research Articles