ขอได้ไหว้รับ: ไอ้ไข่ วัดเจดีย์

Authors

  • อนุชสรา เรืองมาก สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Keywords:

ขอได้ไหว้รับ, ไอ้ไข่, วัดเจดีย์, Sacred temple boy, Aikai, Wat jedi

Abstract

เรื่อง “ขอได้ไหว้รับ: ไอ้ไข่ วัดเจดีย์” ศึกษาความเชื่อความศรัทธาต่อไอ้ไข่ วัดเจดีย์อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของไอ้ไข่วัดเจดีย์ และเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องการบนบาน การแก้บน และผลจากการบนบานต่อไอ้ไข่ วัดเจดีย์ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยผู้ศึกษาใช้ข้อมูลจากเอกสาร และภาคสนาม โดยค้นจากบทความวิชาการ และสัมภาษณ์นักวิชาการท้องถิ่น รวมถึงบุคคลที่อยู่รายรอบวัดเจดีย์

ผลการศึกษาพบว่า ประวัติและตำนาน “ไอ้ไข่ วัดเจดีย์” มีการกล่าวถึงหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบทความในหนังสือ หนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ บทเพลง และการเล่าลือกันแบบปากต่อปาก หลายตำนานที่มีเค้าโครงคล้ายกัน ต่างกันเพียงรายละเอียดปลีกย่อยนอกจากประวัติ ตำนาน เรื่องราวความเป็นมาของ ไอ้ไข่ วัดเจดีย์ แล้ว ยังมีประวัติในส่วนของความเชื่อมั่นรูปเคารพไอ้ไข่ ที่เชื่อว่า เป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ โดยมีการสร้างเครื่องบูชาแทนตัวตน ไอ้ไข่ เพื่อเป็นเครื่องเคารพแก่ประชาชนผู้ศรัทธา

การศึกษาเรื่องของการบนบาน และการแก้บน ต่อไอ้ไข่ วัดเจดีย์ ผู้ศึกษาแบ่งเนื้อหาเป็น 2 ประเด็น คือ 1) การบนบานต่อไอ้ไข่ วัดเจดีย์ (ได้ข้อมูลจาการสัมภาษณ์เรื่องการรับทราบข่าวการบนบาน) พบว่ามาจาก 3 แหล่ง คือ การบอกต่อ อาศัยอยู่ในละแวกวัดและผ่านสื่อ ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนครั้งของการบนบานพบว่ามีตั้งแต่ 1-5 ครั้งขึ้นไป2) การแก้บนต่อไอ้ไข่ วัดเจดีย์ พบว่า ช่วงวันและเวลาขึ้นอยู่กับความนิยมและการถือฤกษ์ยามเรื่องของการแก้บนพบว่ามี 5 เรื่อง ได้แก่ การงานและการศึกษา ความปลอดภัย โชคลาภความรัก และของหายได้คืน ส่วนพิธีกรรมการแก้บน แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การบูชา และ การแก้บน สิ่งของที่ใช้ในการแก้บนแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ รูปปั้นไก่ รูปปั้นอาชีพต่าง ๆ รูปปั้นสัตว์ใหญ่ ชุดทหาร หนังสติ๊ก ของเด็กเล่น ประทัดไข่ต้ม น้ำแดง และศิลปะการแสดง

Sacred Temple Boy: Aikai Wat Jedi

The objective of this study is to study the belief of Aikai Wat Jedi, a temple boy of Jedi temple in Sichon District of Nakhon Si Thammarat Province. The author aimed to study the history and the myth of Aikai Wat Jedi, to analyze the beliefs of the pledge, the offering repays and the results of the pledge toward to Aikai Wat Jedi of Chalong Sub-district, Sichon District, Nakhon Si Thammarat Province. This study is the qualitative and quantitative research. The academic papers and field work data were collected. The field work data obtained through the interviews of the local scholars and the people living around the temple.

The results of the study found that the history and the myth of Aikai Wat Jedi were mentioned in various ways such as in the newspapers, televisions, songs, and the hearsays. Many myths had the similar plot and different in the specific details. Furthermore, this study also found the belief of the Aikai’s cult image. People believed that the sacred spirit of Aikai could protect and give luck to the people. The various kinds of cult image of Aikai were created to worship.

For the pledge and the offering repays toward Aikai Wat Jedi, the author divided the contents into 2 topics: 1) the pledge toward Aikai Wat Jedi (the data collected from the interviews in the topic of the Acknowledgment of the Pledge toward Aikai Wat Jedi) came from the hearsays of the people living around the temple and from the social and electronic medias. The frequency to make the pledge of the people were 1 – 5 times 2) the offering repays toward Aikai Wat Jedi were made after they get the fulfillment from their aspiration of the successfulness in their work and study, of being safe from the journey or other, of the fortune, of the lucky in love and of getting back lost things. The period or timing for offering repays was up to the favor of those who made the pledge and up to the auspicious time. The rituals of offering repays to Aikai Wat Jedi were divided into 2 methods which were the worship and the votive offering. There were 7 kinds of the votive offering of the pledge were found which are the sculpture of chicken and other big animals, kids’ military uniform, slingshots, toys, firecracker, boiled eggs, strawberry syrup soda and the performances.

Downloads

How to Cite

เรืองมาก อ. (2016). ขอได้ไหว้รับ: ไอ้ไข่ วัดเจดีย์. Asian Journal of Arts and Culture, 16(1), 28–54. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95381