เจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ปัญหาปลายเปิด

Main Article Content

ชนาพร ดาโอภา
นิศากร บุญเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ปัญหาปลายเปิด เป็นวิจัยเชิงผสมผสาน (Mix Methodology) กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบบันทึกภาคสนาม แอพลิเคชัน ZOOM ในการบันทึกวีดิทัศน์ บันทึกเสียง และแบบสำรวจเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ผู้วิจัยเตรียมความพร้อมก่อนเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เตรียมครู และระยะที่ 2 เตรียมนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยวิเคราะห์ข้อมูลโพรโทคอล และแบบสำรวจเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับทีมการศึกษาชั้นเรียน ได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเน้นไปที่ปัญหาปลายเปิดซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงปัญหาและหาคำตอบตามวิธีการของตัวเอง 2) การสังเกตการสอนร่วมกัน พบพฤติกรรมของที่แสดงถึงการมีเจตคติทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ (1) การคิดตามหลักคณิตศาสตร์ นักเรียนพยายามเข้าใจปัญหา มีการกำหนดและระบุสิ่งที่คำสั่งต้องการให้แก้ปัญหา (2) การตั้งคำถามและอธิบาย นักเรียนนำแนวคิดที่คาดการณ์ไว้มาใช้ในการแก้ปัญหา โดยแสดงแนวคิดของตนเองเป็นลำดับขั้นตอน และตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับแนวคิดของผู้อื่น (3) การขยายแนวคิด โดยวาดภาพจำลอง การกำหนดสัญลักษณ์ นอกจากนี้นักเรียนสามารถอธิบาย เพื่อแสดงให้เห็นความคิดในการแก้ปัญหา และ (4) การยอมรับแนวคิดของผู้อื่น เมื่อมีการแลกเปลี่ยนหรืออภิปรายแนวคิด พยายามนำแนวคิดของผู้อื่นมาใช้เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจให้กับตนเอง 3) การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนกำหนดแนวคิดในการแก้ปัญหาสามารถใช้การพูดและใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์สื่อสาร และแก้ปัญหาตามลำดับการคิดของตนเอง

Article Details

How to Cite
ดาโอภา ช. ., & บุญเสนา น. . (2023). เจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ปัญหาปลายเปิด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 23(3), 273–286. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/258557
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2549). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาด้วยยุทธวิธีปัญหาปลายเปิด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

_______. (2559). การพัฒนาแนวทางการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดของนักเรียนเป็นฐาน. (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

_______. (2564). การออกแบบการจัดการเรียนการสอนชั้นเรียนแบบผสมผสาน (BLC). เอกสารประกอบการอบรมสำหรับการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะลงสู่ชั้นเรียนโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน.

วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2557). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. นักบริหาร, 34(34), 80-88.

Di Martino, P., & Zan, R. (2015). The construct of attitude in mathematics education. In B. Pepin & B. Roesken-Winter (Eds.), From beliefs to dynamic affect systems in mathematics education, Advances in Mathematics Education, (pp. 51-72). Retrieved from https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-319-06808-4_3

Ismail, S. O., et al. (2015). Design and development of an improved palm kernel shelling and sorting machine. European International Journal of Science and Technology, 4(2), 225-240.

Isoda, M., et al. (2017). SEAMEO Basic Education Standards (SEA-BES): Common Core Regional Learning Standards (CCRLS) in Mathematics. Retrieved from http://hdl.handle.net/2241/00157630

McLeod, D. B. (1992). Research on affect in mathematics education: a reconceptualization. In D.A. Grouws (ed.), Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning, (pp. 575-596). New York: MacMillan.

Wilson, J. W. (1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics in Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.