ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลในเขตจังหวัดเลย เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่ดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลในเขตจังหวัดเลยเพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่ดี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) ประชากร จำนวน 2,211 คน ด้วยการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan จากประชากรให้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 331 คน แล้วหาค่าสัดส่วนตามพื้นที่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 5 ระดับความถูกต้องด้านเนื้อหา (Content Validity) จากค่า IOC อยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 0.66-1.00 ความเชื่อถือได้ (Reliability) มีค่า Alpha = 0.833 ใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural equation model: SEM) โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลรูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลในเขตจังหวัดเลยเพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองที่ดี สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และโมเดลมีความคลาดเคลื่อนในการทำสูง และปัจจัยศักยภาพของผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบล ความผูกพันของคนในองค์กร และปัจจัยสนับสนุน สามารถอธิบายความแปรปรวนการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มได้สูงถึงร้อยละ 100 (R2 = 1.00)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย. (2565). สรุปข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐานประจำปี 2565 ภาพรวมจังหวัดเลย. เลย: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2553 เอกสารวิชาการ สมพ.1 ลําดับที่ 82 เล่มที่ 6/2554. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
จิตติมงคล ชัยอรัญญา. (2540). การศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนา. (เอกสารประกอบการเรียนภาควิชาการพัฒนาชุมชน). กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณรัชช์อร (ณัฐนรี) ศรีทอง. (2554). การบริหารงานพัฒนาชุมชนเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เดช พุ่มคชา. (2559). อุดมการณ์เพื่อสังคม. เข้าถึงได้จาก http://www.thaicivilsociety.com/?p=content&id_content=45
ถวิลดี บุรีกุล และรัชวดี แสงมหะหมัด. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย (Citizenship in Thailand). เข้าถึงได้จาก https://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M10_452.pdf
ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประเวศ วะสี. (2557). Triangle that moves the mountain and health systems reform movement in Thailand. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2548). กระบวนการและเทคนิคการทํางานของนักพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2548). นวัตกรรมการเรียนรู้: คน ชุมชน และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
สถาบันพระปกเกล้า. (2552). คู่มือพลเมืองยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เอ.พี. กราฟิคดีไซน์.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2557). การจัดตั้งประโยชน์ของสภาองค์กรชุมชน. เข้าถึงได้จาก https://web.codi.or.th/
_______. (2560). รายงานประจำปี 2560. เข้าถึงได้จาก https://web.codi.or.th/printing_media/20180620-4669/
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2566). การเสริมพลังชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สอรัฐ มากบุญ. (2552). รายงานผลการวิจัยเรื่องกระบวนการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2547). การฟื้นฟูพลังชุมชนด้วยการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์: แนวคิด วิธีการ และประสบการณ์จากจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
สิทธิชัย ธรรมขัน และคณะ. (2566). การเสริมสร้างความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรชุมชนของสภาชุมชน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 23(1), 17-30.
Schuler, D. (1996). New community networks: Wired for change. New York: ACM Press.