รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเป็นผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 12

Main Article Content

ปลิชา แหลมครบุรี
กฤษกนก ดวงชาทม
ชยากานต์ เรืองสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำการเป็นผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น และ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนา การวิจัยแบบผสานวิธี โดยศึกษา 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาเอกสารองค์ประกอบและประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 353 คนจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น 3) สร้างรูปแบบแล้วประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือทุกฉบับมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การวิเคราะห์เนื้อหา ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ 13 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์มี 3 ตัวชี้วัด 2) มีความกล้าเสี่ยง มี 3 ตัวชี้วัด 3) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มี 4 ตัวชี้วัด และ 4) มีการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจ มี 3 ตัวชี้วัด
2. ภาพรวมสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีความต้องการจำเป็นอันดับแรก คือ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. รูปแบบที่สร้างขึ้นมี 4 ชุดการเรียนรู้ คือ 1) วิสัยทัศน์ 2) ความกล้าเสี่ยง 3) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ 4) การส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจ มีองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการแนวคิด วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ การประเมินผล และเงื่อนไขความเสร็จ และมีผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ต่อรูปแบบการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
แหลมครบุรี ป., ดวงชาทม ก. ., & เรืองสุวรรณ ช. . (2024). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเป็นผู้ประกอบการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 12. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 24(4), 231–244. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/277924
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จุฑาธิป ศีลบุตร, รจิตพรรณ จันทราช และจิราพร ชมพิกุล. (2553). ปัจจัยของผู้นำวิสาหกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรชุมชนที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(4), 30-43.

จุลีวรรณ จันพลา. (2559). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 53-60.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญจักรวาล รอดบำเรอ และคณะ. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบประกอบการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 16(45), 520-535.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

แพทองธาร ชินวัตร. (2567). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/drive/folders/1imuX7bW0bbjQTqLmS5yNVJDUHQFQtZbA

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2549). ภาวะผู้นำของผู้ประกอบการไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 9(1), 1-12.

สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: นิติบุคคลเจี้ยฮั้ว.

สํานักงานศึกษาธิการภาค 12. (2566). แผนพัฒนาการศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงตอนกลาง พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2566). เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1HaGAZwBMKLBZcAr_YslTL09Ppgjctd_J/view

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Keeves, P. J. (1997). Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford, England: Pergamon Press.

Kenney, M., & Mujtaba, B. G. G. (2007). Understanding Corporate Entrepreneurship and Development: A Practitioner View of Organizational Intrapreneurship. Journal of Applied Management and Entrepreneneurship, 12(3), 73-88.