รูปแบบการจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

วัฒนาวรรณ ชัยยะแสน
จตุภูมิ เขตจตุรัส
กนกอร สมปราชญ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธีแบบแผนเชิงอธิบาย แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการความรู้ส่วนบุคคล เพื่อนำข้อมูลจากการศึกษาไปสู่การสรุปและสังเคราะห์องค์ประกอบ ซึ่งนำไปสู่การสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือครู ใน สปป.ลาว จำนวน 600 คน แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis หรือ CFA) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาการจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแบบกรณีศึกษา 3 ราย และระยะที่ 3 เป็นการสร้างและหาคุณภาพรูปแบบจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยการประชุมอภิปรายหาฉันทามติจากพหุคุณลักษณะ (Multi-Attribute Consensus reaching: MACR) และตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของรูปแบบจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของการจัดการความรู้ส่วนบุคคล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การค้นหาความรู้ 2) การบริหารและจัดการความรู้ 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) การวิเคราะห์ข้อมูล 5) การประยุกต์และเผยแพร่
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า รูปแบบการจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ชื่อรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) หลักการแนวคิด 4) วิธีปฏิบัติ 5) เป้าหมายสู่ความสำเร็จ และ 6) กลไกขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ

Article Details

How to Cite
ชัยยะแสน ว. ., เขตจตุรัส จ. ., & สมปราชญ์ ก. . (2024). รูปแบบการจัดการความรู้ส่วนบุคคลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว . วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 24(3), 349–362. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/267398
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2558). นโยบาย และแผนปฏิบัติการพัฒนา และคุ้มครองครู. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: กระทรวงศึกษาธิการ.

เชิดวงศ์ หงส์ศรีจินดา. (2557). การพัฒนาระบบจัดการความรู้ส่วนบุคคลที่ใช้สัญญาการเรียนรู้และเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทางานวิชาการของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2559). ความเป็นมออาชีพในการจัดและบริหารหารศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

Keeves, P. J. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement: An international handbook. Oxford: Pergamon Press.

King, G., et al. (2001). Analyzing Incomplete Political Science Data: An Alternative Algorithm for Multiple Imputation. American Political Science Review, 95(1), 49-69.

Pettnati, M. C., et al. (2003). Using social software for personal knowledge management in formal online learning. Tukish Online Journal of Distance Education, 8(3), 52-65.

Seufert, A., Back, A., & Krogh, G. V. (2003). Unleashing the Power of Networks for Knowledge Management in Beerli, A. J., Falk, S., & Diemers, D., Knowledge Management and Networked Environments. New York: Accenture LLP.

UNESCO. (1991). Qualitative Aspects of Educational Planning. Paris: United Nations.