ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยเอกชน A จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยเอกชน A จังหวัดปทุมธานี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยเอกชน A จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาจีนที่เรียนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเอกชน A จังหวัดปทุมธานี ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งพวก ได้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจีนจำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ และค่าความเชื่อมั่น (α) โดยรวมเท่ากับ 0.985 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคุณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยเอกชน A จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.15) ประกอบด้วย ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านสถานที่ และด้านราคา ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยเอกชน A จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านสาขาวิชาที่กำลังศึกษาต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีของนักศึกษาจีนในมหาวิทยาลัยเอกชน A จังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 91.2 (R2 = 912)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
ไทยพีบีเอส. (2566). มุมกลับ "HUB การศึกษา" ชาวต่างชาติ แห่เรียนมหาวิทยาลัยไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/343985
กันตรัตน์ สุจิตวนิช. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสองภาษาเอกชน A ของผู้ปกครองสำหรับบุตรหลานในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
กิตติคุณ ทวนสุวรรณ, ปฏิมา ประโยชน์อุดมกิจ และภูษิตย์ วงษ์เล็ก. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตร หลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(2), 57-76. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/191533
กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และกรองจันทน์ จันทรพาหา. (2564). การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.). (2567). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในอุดมศึกษา พ.ศ. 2567. เข้าถึงได้จาก https://www.ops.go.th/th/e-book/edu-standard/item/9625-2567
ชัยวัฒน์ ขัตติวงค์ และพุฒิธร จิรายุส. (2561). ปัจจัยด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(3), 382-396. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/240974/163871
ชุติมา สุดจรรยา, เทื้อน ทองแก้วม, พรภัทร์ อินทรวรพัฒน์ และสุวิชชา เนียมสอน. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 33(2), 69-92. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/stouj/article/view/246867
ณัฏฐ์ชยธร มุขสุดาชัยสิริ, พระปราโมทย์ วาทโกวิโท และพระมหาหรรษา ธมมหาโส. (2563). การพัฒนาหลักสูตรสติศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 83-94. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/240865/164880
นพดล ดีอ่วม. (2543). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นของนายทหารสัญญาบัตรเหล่าทหารปืนใหญ่. (ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณภา นิ่มอ่อน และพัชนี เชยจรรยา. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 26(3), 126-140. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/259163/174234
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (ฉบับปรับปรุง 2552). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
เสรี สิงห์โงน และสาลินี จันทร์เจริญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาเด็กวัยรุ่นและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(2), 95-108. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/242224/164720
หลิงหยุน หยาง. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักศึกษาจีนในการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
อชิระ สัจจธนวัต และวิลาสินี ยนต์วิกัย. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีต่อการตัดสินใจสมัครเรียนหลักสูตรด้านการประกอบอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 534-554. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/243457/165064
อมรา ดอกไม้ และศุภลักษณ์ ศรีวิไลย. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(3), 1-11. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/254922/173520
อักษรศรี พานิชสาส์น. (2561). ข้อริเริ่ม The Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน: กรณีศึกษาการเชื่อมโยงโครงการ EEC. วารสารเอเชียปริทัศน์, 39(2), 75-104. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/asianreview/article/view/227956/155185
อานนท์ เลี้ยงพรม. (2564). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนให้นักเรียนเข้า ศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 255-268. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/252026/170669
อารยา ทองโชติ และรุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(2), 169-183. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGSR/article/view/176737/134016
อิสามะแอ สะแม และสายพิณ ปั้นทอง. (2565). อิทธิพลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจของนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(3), 226-244. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/258535
Kotler, P. (2011). Reinventing Marketing to Manage the Environmental Imperative. Journal of Marketing, 75(4), 132-135. https://doi.org/10.1509/jmkg.75.4.132
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.
Wang, H., & Miao, L. (2022). Annual Report on the Development of Chinese Students Studying Abroad. Chinese: Center for China & Globalization.
Yang, L., & Thaima, W. (2021). The Growth of Chinese Students and the Diversity of Educational Programs Offered By Educational Institution of Higher Education in Thailand. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(6), 331-346. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/247889/171632