บทบาทหน้าที่ของนิทาน ตำนานและเรื่องเล่าชาวไทลื้อบ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง

Main Article Content

สมัย วรรณอุดร
เฉลิมศักดิ์ บุตรพวง
พอน เพ็งปันยา
ดาวเพ็ด บุนมาเลิด
สายทอง บุนตาวง
บัววัน วาบัวแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของนิทาน ตำนานและเรื่องเล่าของชาวไทลื้อบ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากข้อมูลจากนิทาน 9 เรื่อง ตำนาน 7 เรื่อง และเรื่องเล่า 14 เรื่อง รวม 30 เรื่องที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และจากเอกสารที่มีการบันทึกไว้ นำข้อมูลมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วศึกษาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดบทบาทหน้าที่ของนิทานที่ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดบทบาทหน้าที่ของนิทาน และแนวคิดบทบาทหน้าที่ของคติชนวิทยา
ผลการวิจัยพบว่า นิทาน ตำนานและเรื่องเล่าของชาวไทลื้อบ้านนายางใต้มีบทบาทหน้าที่ 4 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทหน้าที่ด้านให้ความบันเทิงและเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจ โดยจะพบในนิทานมากที่สุด เพราะนิทานที่มุ่งเน้นให้ความสนุกสนาน 2) บทบาทหน้าที่ด้านให้การศึกษาและสั่งสอน จะพบในเรื่องเล่ามากที่สุด เพราะต้องการเล่าเพื่อให้ผู้ฟังรู้เรื่องราวเกี่ยวกับคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทลื้อ ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและตำนานบ้านเมืองเกี่ยวกับชุมชนตนเอง 3) บทบาทหน้าที่ด้านรักษามาตรฐานทางพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนของสังคม จะพบในเรื่องเล่ามากที่สุด ทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับการทำบุญและเรื่องเล่าเกี่ยวกับวิถีชีวิตซึ่งแสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมอันเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่ช่วยรักษาและประพฤติถูกต้องตามจารีตแบบแผนของชุมชนอย่างชัดเจน และ 4) บทบาทหน้าที่ด้านอธิบายที่มาและเหตุผลในการทำพิธีกรรม จะพบมากทั้งจากตำนานที่เป็นที่มาของประวัติหมู่บ้านและชื่อบ้าน และเรื่องเล่าที่มาของการบุญตามฮีตคองที่อธิบายเหตุผลตามคติความเชื่อของชุมชนไว้และที่มาของการเจ็บป่วยที่เชื่อว่าเกิดจากภูตผีวิญญาณหรือสิ่งเหนือธรรมชาติเป็นผู้บันดาลให้เกิด

Article Details

How to Cite
วรรณอุดร ส., บุตรพวง เ. ., เพ็งปันยา พ. ., บุนมาเลิด ด. ., บุนตาวง ส. ., & วาบัวแสง บ. . (2025). บทบาทหน้าที่ของนิทาน ตำนานและเรื่องเล่าชาวไทลื้อบ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 25(1), 75–92. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/276882
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2537). วรรณกรรมท้องถิ่น กรณีอีสานล้านช้าง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธวัช ปุณโณทก. (2562). วิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นเชิงเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระจันทา จันทะวังโส. (2560). ประวัติบ้านนายางเหนือและนายางใต้ กลุ่มนายาง เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง. หลวงพระบาง: ม.ป.ท.

พิทยา ว่องกุล. (2540). พลานุภาพแห่งวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ. (2563). บทบาทหน้าที่และอุปกิเลสในนิทานพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 115-127. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/244648/168478

อมรา พงศาพิชญ์. (2541). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bascom, W. R. (1965). Four Functions of Folklore. In by Alan Dundes (Eds.), The Study of Folklore (pp. 279–298). New Jersey: Prentice-Hall.