ปัญหาการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

Phra Nitat Wongwangphoem
Phairat Phuenchomphoo
Phrakhru Sutaworathammakit
Prucha Meenontongmahasan
Chayapad Yangsri

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดขอนแก่น 2) เปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดขอนแก่น และ 3) ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กำนัน จำนวน 189 คน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 400 คน ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test Independent สำหรับทดสอบสมมติฐานการวิจัย  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดขอนแก่น 2) เปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดขอนแก่น และ 3) ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กำนัน จำนวน 189 คน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 400 คน ที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test Independent สำหรับทดสอบสมมติฐานการวิจัย 
ผลการวิจัยพบว่า 
1. ปัญหาการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย 4 ด้าน และระดับปานกลาง 1 ด้าน เรียงลำดับด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ และด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการทะเบียน 
2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมมีปัญหาการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p ≤ 0.05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p ≤ 0.05) ทุกด้าน ได้แก่ ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการทะเบียน และด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ส่วนผลการเปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน จำแนกประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่ พบว่า โดยรวมมีปัญหาการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p ≤ 0.05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p ≤ 0.05) จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการทะเบียน และด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ผลการเปรียบเทียบปัญหาปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมมีปัญหาการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p ≤ 0.05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p ≤ 0.05) จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการทะเบียนและด้านการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 
3. ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ ควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางราชการให้ประชาชนได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง และควรปลุกจิตสำนึกให้กับประชาชนมีส่วนร่วม รับผิดชอบเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และหน่วยงานภาครัฐควรลงมาเยี่ยมตรวจราชการเพื่อรับทราบปัญหาของชุมชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)