การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับประสิทธิผลการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

Kittipong Pipitkun
Poowanida Kunpalin
Kanokon Boonmee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการบริหารงานขององค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) วิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างเชิงยืนยัน สำหรับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) สร้างตัวแบบของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการประเภทสายบริหารที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กำหนดจากสูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.942 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีทางเดียว ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการบริหารงานขององค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) วิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างเชิงยืนยัน สำหรับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) สร้างตัวแบบของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการประเภทสายบริหารที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กำหนดจากสูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.942 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีทางเดียว ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง 
ผลการวิจัยพบว่า 
1. ระดับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการบริหารงานขององค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวม อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 
2. องค์ประกอบเชิงยืนยันในภาพรวม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อปัจจัยคัดสรรตามแบบจำลองสมการโครงสร้างและเกณฑ์ในการพิจารณา จากค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป คือ 2.1) ปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ได้แก่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วม การจ้างเหมาบริการภายนอก องค์การแห่งการเรียนรู้ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารงาน 2.2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ ได้แก่ การมุ่งทำงานให้ประสบผลสำเร็จ การปลูกฝังค่านิยมการทำงาน การปลูกฝังจิตสาธารณะ การนำเทคนิคใหม่ๆ มาปรับใช้ การสร้างค่านิยมการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และการถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติงาน 2.3) ปัจจัยด้านสมรรถนะการบริหาร ได้แก่ การให้ความสำคัญต่อการวางแผน การเตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ความมีจริยธรรมของผู้บริหารท้องถิ่น ความสามารถของผู้บริหารในการสร้างทีมงาน ความสามารถของผู้บริหารในการจัดหาทรัพยากรและความมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่น 2.4) ปัจจัยด้านประสิทธิผลการบริหารงาน ได้แก่ ด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน ด้านการพัฒนาองค์การ ด้านกระบวนการภายใน ด้านการจัดหาทรัพยากร และด้านความสามารถในการสร้างความพึงพอใจ 
3. ตัวแบบของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ประสิทธิผลการบริหารงานได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (Direct Path Coefficient = 0.571) และได้รับอิทธิผลทางอ้อม 2 ปัจจัย คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน (Indirect Path Coefficient = 0.871) และทรัพยากรทางการบริหาร (Indirect Path Coefficient = 0.921) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

How to Cite
Pipitkun, K., Kunpalin, P., & Boonmee, K. (2019). การจัดการภาครัฐแนวใหม่กับประสิทธิผลการบริหารงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4), 189–198. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/155217
บท
บทความวิจัย (Research Article)