การบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบแรงงานในช่วงสถานการณ์พิเศษ (คสช)

Main Article Content

Phuphal Samata
Saruda Somphong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทและหน้าที่ของระบบการบริหารแรงงานในช่วงการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารแรงงานในช่วงสถานการณ์พิเศษ (คสช.) 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของระบบการบริหารแรงงานต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารแรงงานในช่วงสถานการณ์พิเศษ (คสช.) และ 3) เพื่อศึกษาถึงแนวทางการดำเนินงานของระบบการบริหารแรงงานกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารแรงงานในช่วงสถานการณ์พิเศษ (คสช.) ที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ 1 คือ ตัวแทนภาครัฐหรือผู้ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 ท่าน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ 2 คือ ตัวแทนภาคเอกชนหรือผู้ได้รับการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทและหน้าที่ของระบบการบริหารแรงงานในช่วงการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารแรงงานในช่วงสถานการณ์พิเศษ (คสช.) 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของระบบการบริหารแรงงานต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารแรงงานในช่วงสถานการณ์พิเศษ (คสช.) และ 3) เพื่อศึกษาถึงแนวทางการดำเนินงานของระบบการบริหารแรงงานกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารแรงงานในช่วงสถานการณ์พิเศษ (คสช.) ที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประกอบด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ 1 คือ ตัวแทนภาครัฐหรือผู้ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 ท่าน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ 2 คือ ตัวแทนภาคเอกชนหรือผู้ได้รับมอบหมาย จำนวน 5 และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ 3 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ตัวแทนลูกจ้างบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เอกสารต่างๆ ประมวลผลการวิเคราะห์ และอธิบายปรากฏการณ์ 
ผลการวิจัยพบว่า บทบาทและหน้าที่การปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานแรงงาน นำมากระทำได้ยาก เนื่องจากนโยบายถูกกำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ซึ่งอาจไม่ทราบถึงอุปสรรคในระดับการปฏิบัติงาน ทำให้การดำเนินการตามนโยบายส่วนใหญ่ไม่บรรลุผลตามที่ต้องการ เช่น นโยบายด้านการพัฒนามาตรฐานแรงงานไทย เพื่อให้สถานประกอบการผ่านการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบแรงงานในช่วงสถานการณ์พิเศษ (คสช) ไม่มีนโยบายระยะยาวที่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตามผู้บริหารระดับสูงทำให้ขาดความต่อเนื่อง และแนวทางการดำเนินงานแรงงานในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การกำหนด พัฒนารูปแบบและแนวปฏิบัติการจัดสวัสดิการแรงงานให้แก่ผู้ใช้แรงงานทุกกลุ่มเป้าหมาย การส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการให้นายจ้างและผู้ใช้แรงงานมีการจัดสวัสดิการแรงงานที่เหมาะสม การกำกับ ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายด้านสวัสดิการแรงงาน และส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสวัสดิการแรงงาน และการสนับสนุนให้องค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการแรงงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)