ประสิทธิผลพุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตรที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลพุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตรที่ประสบความสำเร็จ และผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธวิธีการบริหารจัดการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำหลักธรรมมาบูรณาการร่วมกับการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลพุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตรที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี สามารถดำเนินการได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จะต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ 3 ปัจจัย ได้แก่ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และธรรมะเพื่อการปฏิบัติ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลพุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ความรู้ ทักษะ/ความสามารถ เทคโนโลยี/นวัตกรรม เกษตรกรต้นแบบ ทุน และการตลาด 3) ธรรมะเพื่อการปฏิบัติ ได้แก่ หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย มีใจรัก (ฉันทะ) พากเพียรทำ (วิริยะ) นำจิตฝักใฝ่ (จิตตะ) และใช้ปัญญาทบทวน (วิมังสา) และ 4) ประสิทธิผลพุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร ประกอบด้วย การพัฒนาไม่หยุดยั้ง รวมพลังสร้างเครือข่าย ดำรงอยู่ไม่เสื่อมคลาย ยอมรับได้ในสังคม
Article Details
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2549). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานของโรงเรียนดีเด่น โรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธวัชชัย เสือเมือง และยุภาพรรณ มันกระโทก. (2561). การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรอินทรีย์ชุมชนบ้านเขาดิน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วารสารเภสัชกรรมไทย, 10(1), 49-59.
นิสิต คำหล้า, อนันต์ พลธานี และอรุณี พรมคำบุตร. (2557). บทบาทของการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน: กรณีศึกษา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารแก่นเกษตร, 42(2), 258-264.
ประจวบ หนูเลี่ยง, เด่น ชะเนติยัง และนวลพรรณ วรรณสุธี. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของจังหวัดพัทลุง. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(2), 232-253.
ปัญญา จันทโคต และกุลธิดา ท้วมสุข. (2558). ปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชนในประเทศไทย. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 8(1), 42-52.
ไพฑูรย์ สนธิเมือง. (2550). ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมจัดการศึกษากับการพัฒนา สถานศึกษา: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
รุจิรา ทนงกิจ, จำลอง โพธิ์บุญ และวิสาขา ภู่จินดา. (2560). การประเมินประสิทธิผลศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(4), 163-174.
ศรีประไพ อุดมละมุด, ซูลฟีกอร์ มาโซ, สมบัติ โยธาทิพย์, อานนท์ มุสิกวัณณ์ และแวมามุ แวหะมะ. (2560). ความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชน: กรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา (รายงานการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
สำนักข่าวอิสรา. (2561). นโยบายศูนย์เรียนรู้เกษตร คสช.ส่อเหลว สตง.พบปัญหา. เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/isranews-news/63458-news00_63458.html
สุภัทรชัย สีสะใบ. (2561). พุทธวิธีการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนการเกษตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 1-12.
สุวุฒิ วรวิทย์พินิต. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 1657-1674.