รูปแบบความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย โดยศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

Main Article Content

สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์
นวลจันทร์ แจ้งจิตร
สว่าง มีแสง
อนันต์ เพชรใหม่
นนท์ น้าประทานสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาถึงรูปแบบความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นไปยังการศึกษาด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงการศึกษาภาคสนามด้วยวิธี การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้รู้ และได้นำผลการศึกษามาวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นั้นเป็นรูปแบบที่เน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่อต้านการทุจริตกับภาคประชาสังคมของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในการประสานความร่วมมือกันทั้งสามภาคส่วน คือภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในเรื่องป้องกันการทุจริต
2. รูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศไทยนั้นพบว่าความร่วมมือในการป้องกันการทุจริตระหว่าง คณะกรรมการ ป.ป.ช.กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อมตลอดจนองค์กรอิสระนั้น มีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานของภาครัฐไทยและภาคประชาชนน้อยมาก
3. รูปแบบความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย จากรูปแบบการป้องกันการทุจริตของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ พบว่ารูปแบบการสร้างประชาธิปไตยแบบเข้มข้น (Thick Democracy) เป็นวิธีการยกระดับการป้องกันการทุจริตในไทยที่ดีที่สุด โดยเน้นไปยัง การสร้างระบบและกลไกให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง การแก้ไขกฎหมาย ลดการผูกขาดทางการตลาดและการใช้ดุลพินิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)