การเสริมสร้างพุทธจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาของสามเณรวัดเจดีย์หลวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างพุทธจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาของสามเณรวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อทราบวิธีการเสริมสร้างพุทธจริยธรรมตามหลักไตรสิกขา 3) เสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างพุทธจริยธรรมตามหลักไตรสิกขา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นรายบุคคล แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายกลุ่ม แบบสังเกตสภาพแวดล้อม แบบสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและแบบศึกษาประวัติชีวิต
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเสริมสร้างพุทธจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาของสามเณรวัดเจดีย์หลวง โดยใช้กรอบแห่งไตรสิกขาเป็นเครื่องมือควบคุมและพัฒนาพฤติกรรมสามเณรได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์ของวัด 3 ด้าน คือ ความประพฤติดี (ศีล) กิจวัตรดี (สมาธิ) และความรับผิดชอบดี (ปัญญา)
2. วิธีการเสริมสร้างพุทธจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาของสามเณร วัดเจดีย์หลวงมีวิธีการเสริมสร้างพุทธจริยธรรมด้วยการนำแนวคิดเรื่องไตรสิกขา มาแปรเปลี่ยนรูปในเชิงกิจกรรมหลายอย่าง เช่น การนุ่งห่มเรียบร้อย การสนทนากับพระอาจารย์ผู้ใหญ่ประณมมือทุกครั้ง (ศีล) การไหว้พระสวดมนต์เช้า/เย็น (สมาธิ) การกวาดลานวัด สัปดาห์ทำความสะอาดเสนาสนะ หรือการทำตามวาระตามแผนกที่ได้รับมอบหมายให้เรียบร้อย (ปัญญา) เป็นต้น เป็นการส่งเสริมหลักไตรสิกขาผ่านกิจกรรมและกิจกรรมเหล่านี้จะเติมเต็มการเรียนรู้ในมิติไตรสิกขา
3. ข้อเสนอแนะอันเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต หลักไตรสิกขาทำให้มีทิศทางในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ถ้าได้รับการปลูกฝังอย่างจริงจังจากหลายๆ ฝ่าย
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). คุณธรรมและจิตสำนึกของข้าราชการครู. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: การศาสนา.
บุญมี แท่นแก้ว. (2541). จริยธรรมกับชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
วศิน อินทสระ. (2544). จริยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.