ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

สุนทร ปัญญะพงษ์
สุนันท์ สีพาย
อัญชลี ชัยศรี
ทัศไนยวรรณ ดวงมาลา
สำราญ วานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อการใช้ชีวิตชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดชัยภูมิ ประชากรคือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม จำนวน 400 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของชุมชน ประกอบด้วย 1) ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต เกิดความเครียด และวิตกกังวลในการใช้ชีวิตร้อยละ 75.75 2) ด้านเศรษฐกิจ รายได้ลดลงร้อยละ 73.75 ต้องหยุดงานหรือถูกเลิกจ้าง การประกอบอาชีพลำบากมากขึ้น 3) ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตจากความวิตกกังวล ร้อยละ 69.75 4) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้ากันชุมชนได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมงานบุญประเพณีแบบวิถีใหม่ ร้อยละ 64.75 5) ด้านการศึกษาการเรียนแบบออนไลน์ ทำให้มีค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ในการเรียนเพิ่มขึ้น ครอบครัวที่มีฐานะยากจนจะได้รับผลกระทบอย่างมากร้อยละ 52.75

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤษฎา บุญชัย และคณะ. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ การวิจัยเรื่อง การประเมินความเสียหายผลกระทบและปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคโควิด-19. เข้าถึงได้จาก https://www.ldi.or.th/wp-content/uploads/2020/11/Research_COVID.pdf

กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน. (2563). พฤติกรรมสารสนเทศในยุคโควิด-19. วารสารห้องสมุด, 64(2), 36-49.

จันทนี เจริญศรี. (2563). บทวิเคราะห์ 7 New Normal ที่อาจได้เห็นในสังคมไทยในวันที่โควิด-19 หายไป. เข้าถึงได้จาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/124543

บุญมา สุนทราวิรัตน์. (2563). โควิด-19 แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบระดับพื้นที่จังหวัดเลย ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 16-34.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก “ไวรัสโควิด-19”. เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/618563

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม และคณะ. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวของภาคการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนภายใต้วิกฤติการณ์การระบาดโควิด-19. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(1), 1-20.

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2),1-14.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2563). รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.nrct.go.th›news›

องค์การอนามัยโลก. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php