การพัฒนาชุดการเรียนรู้เสริมทักษะการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม
กันต์ฤทัย คลังพหล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้เสริมทักษะการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก 2) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้ชุดการเรียนรู้เสริมทักษะเรื่องการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก 3) หาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้เสริมทักษะการเขียนสะกดคำ ด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดสองพี่น้อง จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการสอนเสริมทักษะการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สื่อการจัดการเรียนการสอน แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดการสอนเสริมทักษะการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียนรู้เสริมทักษะการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.80/87.33
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) จากการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้เสริมทักษะ เรื่องการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6611 หรือคิดเป็นร้อยละ 66.11

Article Details

How to Cite
ศรีเอี่ยม ส. ., & คลังพหล ก. . (2022). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เสริมทักษะการเขียนสะกดคำด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 335–348. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/253254
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ปีที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

เทพรัตนสุดา สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2558). การประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร. เชียงใหม่: สำนักงานพัฒนาพิงคนคร.

ธนสิทธิ์ คณฑา. (2551). การศึกษาการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่ลงเรียนในรายวิชาบัณฑิตอุดมคติไทย. (รายงานการวิจัย). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). นโยบายและจุดเน้นเชิงนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

นุชรินทร์ พรมเมือง. (2560). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำพื้นฐาน ด้วยสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อการสร้างองค์ความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนิสิต นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุขสันติ์ ดุลชาติ. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

แสงจันทร์ ศรีสุทธา. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะการเขียนสะกดคำสระเสียงยาว ตามแนวคิด Brain based Learning ร่วมกับชุดนิทานส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่จัน (เชียงแสนราชานุศาสน์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อุมาพร ต้อยแก้ว. (2554). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Bonwell, C. C. (1991). Active Learning: Creating excitement in the classroom. Washington, DC: The George Washington University.

Sweeller, J. (2006). The worked example effect and human cognition: Learning and Instruction. New Jersey: Education Technilogies.