การตั้งคำถามของครูเพื่อดึงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ในชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา

Main Article Content

เกศศิณีย์ เหล็กจารย์
สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทการตั้งคำถามของครูเพื่อดึงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือ ทีมการศึกษาชั้นเรียน จำนวน 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 คน โรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่นท่าหิน จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกภาคสนาม และแอปพลิเคชัน Messenger โดยบันทึกข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดของ NCTM และ Isoda & Katagiri
ผลการวิจัยพบว่า การตั้งคำถามของครูเพื่อดึงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้แก่ 1) คำถามรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ทำให้นักเรียนได้ทบทวนย้อนคิดความรู้เดิม รวบรวมข้อมูลแนวคิดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับหน่วยของทศนิยม แล้วนำมาเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัญหาที่พบเจอ โดยในบางสถานการณ์นักเรียนย้อนคิดแนวคิดเกี่ยวกับเซตที่เกี่ยวกับการคูณทศนิยม เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เผชิญ 2) คำถามกระตุ้นให้เกิดการคิด ทำให้นักเรียนเกิดแนวคิดเกี่ยวกับหน่วยของทศนิยม แนวคิดของการแสดงแทนการคูณทศนิยม แนวคิดของการดำเนินการการคูณทศนิยม และแนวคิดของขั้นตอนวิธีการคูณทศนิยม ใช้ในการแก้ปัญหาที่พบเจอ 3) คำถามทบทวนและตรวจสอบความถูกต้อง ทำให้นักเรียนอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับหน่วยของทศนิยม แนวคิดของการแสดงแทนการคูณทศนิยม แนวคิดของการดำเนินการการคูณทศนิยม และแนวคิดของขั้นตอนวิธีการคูณทศนิยม ที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีความเข้าใจ และโต้แย้งแนวคิดเพื่อความถูกต้อง 4) คำถามที่ช่วยให้คณิตศาสตร์ชัดเจน ทำให้นักเรียนอภิปรายแนวคิดของขั้นตอนวิธีการคูณทศนิยม เกิดเครื่องมือการเรียนรู้ในคาบต่อไป

Article Details

How to Cite
เหล็กจารย์ เ., & ถิ่นเวียงทอง ส. . (2022). การตั้งคำถามของครูเพื่อดึงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ในชั้นเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา . วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(1), 265–276. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/253697
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียน โดยเน้นกระบวน การทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

_______. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง.

_______. (2564). Blended Learning Classroom [เทปบันทึกเสียง]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง และไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2561). รูปแบบการสอนแนวใหม่สำหรับการวัดในรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 118-127.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Eddy, C. M. & Harrell, P. E. (2013). Assess today: A short-cycle formative assessment observation protocol. Texas: University of North Texas.

Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47-66.

Isoda, M. & Katagiri, S. (2012). Mathematical Thinking: How to Develop it in the Classroom. Singapore: World Scientific Publishing Co. Pte. Ltd.

Isoda, M., & Nakamura, T. (2010). Mathematics Education Theories for Lesson Study: Problem Solving Approach and the Curriculum through Extension and Integration. Journal of Japan Society of Mathematical Education, 92(5),

Lewis, C. (2002). Lesson Study: A handbook of teacher-led Instructional change. Philadelphia: Research for better schools, Inc.

Mehan, H. (1979). Learning lessons: Social organization in the classroom. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Meserve, B., & M. Suydam. (1992). In Studies in Mathematics Education: Moving into the Twenty-first Century. Paris: United Nations Educational.

National Council of Teachers of Mathematics. (2014). Principles to Actions: Ensuring Mathematical Success for All. Reston, Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.

Shahrill, M. (2013). Review of Effective Teacher Questioning in Mathematics Classrooms. International Journal of Humanities and Social Science, 17(3), 224-231.

Shimizu, Y. (1999). Aspects of mathematics teacher education in Japan focusing on teacher’ roles. Journal of Mathematics Teacher Education, 2(1), 107-116.

Wood, T. (1998). Alternative Patterns of Communication in Mathematics Classroom: Funneling or Focusing?. In H. Steinbring, A. Sierpinska & M. G. Bartolini-Bussi (Eds.). Language and Communication in the Mathematics Classroom, (pp. 167-168). Reston, Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.