การยึดมั่นผูกพันในงานและหนุนเสริมขับเคลื่อนหุ้นส่วนทางสังคม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

แสงดาว กองใจ
สมคิด แก้วทิพย์
เฉลิมชัย ปัญญาดี
บงกชมาศ เอกเอี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยึดมั่นผูกพันในงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันของหุ้นส่วนทางสังคม เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยึดมั่นผูกพันในงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสมาชิกหุ้นส่วนทางสังคมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ตัวแทนหรือผู้นำกลุ่มจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้เรื่องฝุ่นควันและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 257 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การยึดมั่นผูกพันในงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันของหุ้นส่วนทางสังคม เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 2.62) เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ความกระตือรือร้นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน (gif.latex?\bar{x} = 2.69) การอุทิศให้กับงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน (gif.latex?\bar{x} = 2.67) การจดจ่อใส่ใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน (gif.latex?\bar{x} = 2.40)
2. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการยึดมั่นผูกพันในงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันของสมาชิกหุ้นส่วนทางสังคมจังหวัดเชียงใหม่ เรียงลำดับปัจจัยที่สัมพันธ์จากมากไปหาน้อย คือ 1) ปัจจัยทางจิตวิทยามีตัวแปรที่มีอิทธิพล 4 ตัวแปรคือ (1) แรงจูงใจในการเข้าร่วมกลุ่มหุ้นส่วนทางสังคม (2) ทัศนคติต่อการดำเนินงานของหุ้นส่วนทางสังคม (3) ความรู้เกี่ยวกับฝุ่นควัน (4) ประสบการณ์การเรียนรู้ฯ เรียงตามลำดับจากค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุมากไปหาน้อย คือ 0.413, 0.233, 0.128 และ 0.012

Article Details

How to Cite
กองใจ แ., แก้วทิพย์ ส. ., ปัญญาดี เ. ., & เอกเอี่ยม บ. . (2022). การยึดมั่นผูกพันในงานและหนุนเสริมขับเคลื่อนหุ้นส่วนทางสังคม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 387–398. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/254147
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2563). รายงานการเกิดไฟป่าและจุดความร้อนของแต่ละภาคในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2554). โครงการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในการแก้ไขปัญหาวิกฤตหมอกควัน กิจกรรมศึกษาวิจัยทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน และการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่แอ่งจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ฐานริณทร์ หาญเกียรติวงศ์ และคณะ. (2560). เครือข่ายการป้องกันปัญหาหมอกควันในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 41-53.

ณัฐกร วิทิตานนท์. (2555). แนวทางการแก้ปัญหาฝุ่นควันสำหรับจังหวัดเชียงใหม่ และโครงการวิจัยสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ในการแก้ปัญหาวิกฤต หมอกควัน คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปัญจมาส ทวิชาตานนท์. (2555). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความมั่นผูกพันในงานของเจ้าหน้าที่องค์การไม่แสวงหาผลกำไรที่ปฏิบัติงานด้านเอดส์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Schaufeli, W. B., Salanova, M., González-romá, V. & Bakker, A. B. (2002). The Measurement of Engagement and Burnout: A Two Sample Confirmatory Factor Analytic Approach. Journal of Happiness Studies, 3(1), 71-92.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York: Harper and Row.