รูปแบบการประยุกต์การแพทย์แผนไทยบำบัดผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยธรรมโอสถ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา กรณีศึกษา วัดศรีชมชื่น อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

นลินรัตน์ อุ่นแก้ว
พระครูสุธีคัมภีรญาณ
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบำบัดผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมตามแนวทางการแพทย์แผนไทย 2) ศึกษาการบำบัดผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยธรรมโอสถ 3) เสนอรูปแบบการประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยบำบัดผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยธรรมโอสถ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกพื้นที่วิจัยด้วยการสุ่มแบบเจาะจง คือ อำเภอหนองเรือ ผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง เป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ดูแลหลัก/สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย แพทย์แผนไทยผู้ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พระสงฆ์ และผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 44 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม นำเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. การแพทย์แผนไทยใช้การบำบัดโดยการนวดไทย การประคบสมุนไพร การพอกสมุนไพร และการออกกำลังกายบริหารข้อเข่าด้วยโยคะ ช่วยลดอาการปวดเข่า ข้อเข่าติดได้
2. ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จึงดำเนินกิจกรรมเสวนาธรรมวันพระเพื่อนำธรรมโอสถตามแนวทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการแพทย์แผนไทยในการบำบัดผู้ป่วยที่วัดศรีชมชื่น อำเภอหนองเรือ สอดแทรกกิจกรรมสร้าง 7 ส. ได้แก่ สวดมนต์คล่อง สมองปัญญาไว สมาธิตั้งมั่นด้วยใจ สนทนาธรรมผ่อนคลาย สะอาดทั้งกายและใจ สถานที่อยู่แล้วแจ่มใส และสมานฉันท์กัลยาณมิตร พร้อมเสริม 7 ดี 1) อยู่ดี (อาวาสสัปปายะ) 2) กินดี (โภชนสัปปายะ) 3) อยู่ในถิ่นที่เหมาะดี (โคจรสัปปายะ) 4) ธรรมะสบายใจดี (ภัสสสัปปายะ) 5) กัลยาณมิตรดี (ปุคคลสัปปายะ) 6) อากาศเย็นสบายดี (อุตุสัปปายะ) 7) อิริยาบถผ่อนคลายดี (อิริยาปถสัปปายะ) ธรรมโอสถที่สอดแทรก ได้แก่ บุญกริยาวัตถุ 3 ทาน ศีล ภาวนา สัปปายะ 7
3. นำเสนอการผสมผสานคือ การประยุกต์ใช้การเจริญบุญกิริยาวัตถุ 3 การประยุกต์ใช้สัปปายะ 7 ประการ และการประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยบำบัดผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นรูปแบบการประยุกต์ใช้การแพทย์แผนไทยบำบัดผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยธรรมโอสถตามแนวทางพระพุทธศาสนา เกิดองค์ความรู้ใหม่สร้างสุขภาวะองค์รวม 4 ด้าน คือ กาย จิต ปัญญา และสังคม เกิดความสุขทุกมิติอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ทิพวรรณ สุธานนท์. (2556). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิดา ตั้งวินิต. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญเติม ปิงวงศ์. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการแพทย์แบบองค์รวมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอินทสารวิจักษ์ อินทสโร (กิจไร่). (2551). ศึกษาการรักษาโรคด้วยสมุนไพร และธรรมโอสถที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาทวี มหาปญฺโญ. (2556). วิเคราะห์อายุสสธรรม 5: หลักธรรมที่ช่วยให้อายุยืน 5 ประการ ในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาเถรวาท. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริลักษณ์ วรไวย์. (2557). การศึกษาธรรมโอสถในพระพุทธศาสนา. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมรักษ์ หนูจันทร์. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมโดยชุมชนมีส่วนร่วมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 2(1), 153-162.