ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการเลือกตั้งท้องถิ่น

Main Article Content

พรเทพ โฆษิตวรวุฒิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมท้องถิ่น และการเลือกตั้งท้องถิ่น 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการเลือกตั้งท้องถิ่น 3) ศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอิทธิพลกับการเลือกตั้งท้องถิ่น และ 4) ศึกษาแนวทางในการนำเอาวัฒนธรรมท้องถิ่นเสนอต่อผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น โดยใช้สูตรของ Taro Yamane และจากการสัมภาษณ์ปลัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การสรุปประเด็น
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสิทธิและเสรีภาพของบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ หลักความเสมอภาค และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หลักเสียงส่วนใหญ่
2. การเลือกตั้งท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมาคือ การลงคะแนนเลือกตั้ง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ระยะเวลาการตัดสินใจเลือกตั้ง
3. วัฒนธรรมท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเลือกตั้งท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลทดสอบ F = 4.640 p value .001 ผลจากการวิเคราะห์สมการถดถอย พบว่า สิทธิและเสรีภาพของบุคคล หลักความเสมอภาค หลักความยินยอม หลักอำนาจอธิปไตย และหลักเสียงส่วนใหญ่ มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัมลาศ เยาวะนิจ. (2562). วัฒนธรรมไทยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 23-33.

กาญจนา พันธุ์เอี่ยม และคณะ. (2556). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สิทธิการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้นำชุมชน เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

เกียรติกร พากเพียรศิลป์ และคณะ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกริก

จิติล คุ้มครอง. (2560). พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในกรอบรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560: ศึกษากรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เฉลิมพล นุชอุดม. (2562). เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนระดับท้องถิ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 32-44.

ฐานิตา เฉลิมช่วง (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัย, 10(1), 82-90.

ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2556). วิถีชีวิตไทย: วัฒนธรรมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: สหายบล็อก.

นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2555). การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง: วาทกรรม อำนาจ และพลวัตชนบทไทย. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.

พระอธิการวรวุฒิ สุเมโธ (มีธรรม). (2564). พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 5. วารสารวิชาการ มจร. บุรีรัมย์, 6(2), 103-115.

พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก: ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2559. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ยงยุทธ พงษ์ศรี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดปทุมธานี: ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2562. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัญฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ลัดดา งามโสภา. (2553). แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

วิรัช เพียรชอบ. (2552). พฤติกรรมการใช้สิทธิทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี

สมเกียรติ วันทะนะ. (2557). ระบบประชาธิปไตยเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

หัชชากร วงศ์สายัณห์. (2560). ระบบคุณค่าในวัฒนธรรมการเลือกตั้งท้องถิ่น. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 62-74.

Almond, G. & Verba, S. (1963). Comparative political today. Boston: Little Brown and Company.

Callahan, W. A. (2005). Vote Buying and Village Outrage in an Election in Northern Thailand: Recent Legal Reforms in Historical Context. The Journal of Asia Studies, 67(3), 169-511.

Walker, A. (2008). The rural constitution and the everyday politics of elections in Northern Thailand. Journal of contemporary Asia, 38(1), 84-105.