การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในการดำเนินการตาม กฎหมายสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาสถานการณ์เกี่ยวกับความร้อนของสถานประกอบกิจการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน และ 3) วิเคราะห์และนําเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามกฎหมายสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน โดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือวิจัย ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพจำนวน 144 คนที่สุ่มเลือกจากสถานประกอบกิจการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์ จำนวน 12 คน ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ มีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าก่อนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานประกอบกิจการร้อยละ 36 มีระดับความร้อนค่อนข้างสูงโดยมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 31-33 องศาเซลเซียส และร้อยละ 89 มีปัญหาสุขภาพหรือการร้องบ่นของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับความร้อน 3-4 ครั้งในหนึ่งเดือน
2. ศักยภาพของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน หัวข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากคือ ผู้ตรวจวัดและเครื่องตรวจวัดความร้อนมีคุณสมบัติตามกฎหมาย ส่วนหัวข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยระดับปานกลางคือความสามารถในการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน
3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติตามกฎหมายมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านกฎหมาย ปัจจัยด้านความร่วมมือ และปัจจัยด้านการบริหารจัดการ การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาแนวปฏิบัติตามกฎหมาย สนับสนุนให้มีระบบการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนและความร่วมมือในระบบทวิภาคีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ตลอดจนการใช้วิธีการควบคุมความร้อนตามลำดับชั้นของการควบคุมอันตราย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2562). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. เข้าถึงได้จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_01_envocc_situation.pdf
ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. (2562). ความร้อน: ผลกระทบต่อสุขภาพ การตรวจวัด ค่ามาตรฐานและการปรับตัวให้ทนกับสภาพความร้อน. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 12(3), 1-16.
ประมุข โอศิริ. (2562). วิเคราะห์กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการทำงานเรื่องความร้อน. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 5(1), 71-84.
สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 33(1), 34-51.
สุภัทรา นันดี. (2561). การศึกษาปัจจัยเอื้อที่ทำให้เกิดการจ้างงานและการลงทุนพื้นที่อุตสาหกรรมในเทศบาลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 3 การบูรณาการความรู้เพื่อสังคมที่ยั่งยืน, 18-20 กรกฎาคม 2561, (หน้า 41-48). ประจวบคีรีขันธ์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล.
Cardoza, J. E., et al. (2020). Heat-Related Illness Is Associated with Lack of Air Conditioning and Pre-Existing Health Problems in Detroit, Michigan. USA: A Community-Based Participatory Co-Analysis of Survey Data.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Loannou LG., et al. (2021). Occupational Heat Stress: Multi-Country Observations and Interventions. Retrieved from https://www.mdpi.com/1660-4601/18/12/6303
Mooyad, M. A. (2017). The Effectiveness of Hearing Conservation Program in the Workplace. Global Journal of Otolaryngology, 5(4), 117-119.
Morrissey, M. C., et al. (2021). Impact of occupational heat stress on worker productivity and economic cost. American Journal of Industrial Medicine, 64(12), 981-988.
OSHA (Occupational Safety and Health Administration). (2017). OSHA Technical Manual Section III: Chapter 4 - Heat Stress. Retrieved from https://www.osha.gov/otm/section-3-health-hazards/chapter-4
OSHA (Occupational Safety and Health Administration). (2023). Heat Hazard Recognition. Retrieved from https://www.osha.gov/heat-exposure/hazards
Polit, D. F., Beck, C. T. & Owen, S. V. (2007). Is the CVI an Acceptable Indicator of Content Validity? Appraisal and Recommendations. Research in Nursing & Health, 30, 459-467.