การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จุฑามาศ รัตนทิพย์
นิยดา เปี่ยมพืชนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผล 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผล และ 3) ศึกษาตัวทำนายการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 232 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผลของโรงเรียน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การบริหารแบบส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน พบว่า มี 2 ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชนกพร มนัส. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นุรไอนี เจ๊ะกา. (2557). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ปริญวัฒน์ ถมกระจ่าง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มยุรี วรรณสกุลเจริญ และชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ (Organizational Effectiveness). วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 193-204.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม และดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 299-313.

ลําเพย เย็นมนัส. (2553). บทบาทของคณะกรรมการโรงเรียนประถมศึกษาในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อมรภัค ปิ่นกําลัง. (2564). การบริหารแบบมีส่วนของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1227-1237.

Somech, A. (2005). Directive versus Participative Leadership: Two Complementary Approaches to Managing School Effectiveness. Educational Administration Quarterly, 41, 777-800.