การพัฒนากิจกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

วชิราภรณ์ ขาวลอยฟ้า
อุไรวรรณ หาญวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ที่ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 2) ศึกษาผลความรอบรู้ด้านสุขภาพ หลังการใช้กิจกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านวังแดง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จำนวนนักเรียน 34 คน ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย กิจกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ที่ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 10 กิจกรรม แบบทดสอบความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบประเมินทักษะการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบคะแนนเฉลี่ย t-test หลังเรียนโดยเทียบกับเกณฑ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 10 กิจกรรม กิจกรรมละ 2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง คือ 1) รู้รักสะอาด ปราศจากโรค 2) ยิ้มสวย ฟันใส ใส่ใจดูแล 3) ล้างมือถูกต้อง ป้องกันไวรัส 4) กินอย่างมีประโยชน์ ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย 5) งดสิ่งเสพติด ชีวิตปลอดภัย 6) ครอบครัวของฉัน รักกันหวานชื่น 7) ไม่ประมาท แคล้วคลาดอุบัติภัย 8) ออกกำลังกายวันละนิด จิตแจ่มใส 9) อารมณ์ดีเพราะมีความสุข 10) สังคมน่าอยู่ ทุกคนรู้หน้าที่ ทุกกิจกรรมเน้นการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมพร้อม 2) ขั้นปฏิบัติงานกลุ่ม 3) ขั้นประยุกต์ 4) ขั้นติดตามผล มีค่าความเหมาะสมของกิจกรรมทั้ง 10 กิจกรรม อยู่ในระดับมาก
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ หลังการจัดกิจกรรมได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยทักษะการจัดการตนเองในระดับดี

Article Details

How to Cite
ขาวลอยฟ้า ว., & หาญวงค์ อ. . . (2022). การพัฒนากิจกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(4), 295–308. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/258415
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กองสุขศึกษา. (2551). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ.กรุงเทพมหานคร: กรมสนับสนุนการบริการสุขภาพ.

เดชดนัย จุ้ยชุม, เกษรา บ่าวแช่มช้อย และศิริกัญญา แก่นทอง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 47-57.

ไตรลักษณ์ ภิญโญ. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ แห่งชาติแห่งชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก ทักษะการคิดวิเคราะห์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ทิศนา แขมมณี. (2546). วิธีสอนสำหรับมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียานุช พรหมภาสิต. (2559). คู่มือการจัดการเรียนรู้ “Active learning (AL) for HuSo at KPRU”. กําแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.

สุชาดา แก้วพิกุล. (2555). การพัฒนากิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ใช้การจัดการเรียนการสอนอย่างกระตือรือร้น โดยเน้นการเรียนเป็นคู่ร่วมกับการบริหารสมอง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรวรรณ นามมนตรี. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy). วารสารทันตาภิบาล, 29(1), 122-128.