การวิเคราะห์กระบวนการเพื่อประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะรูปแบบดิจิทัล กรณีศึกษา เทศบาลตำบลโนนสะอาด จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

กฤษดา ประชุมราศี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและประเมินหาประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานก่อนและหลังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรณาการ และ 2) เสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการยกระดับวุฒิภาวะของการเป็นรัฐบาลดิจิทัลของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการสาธารณะ, ด้านการศึกษา ด้านพัสดุ และด้านสุขภาพ ด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและเก็บข้อมูลทุติยภูมิด้วยแบบบันทึกข้อมูลประวัติการใช้งานจากฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลปฐมภูมิ ประมวลผลข้อมูลทุติยภูมิตามกระบวนการอีทีแอลและสังเคราะห์เป็นแผนภาพข้ามสายงานควบคู่กับการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าสูงสุด (Max) ค่าต่ำสุด (Min) ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Average) และร้อยละ (Percentage) เพื่อคำนวณหาประสิทธิภาพของกระบวนการแต่ละด้าน
ผลการวิจัยพบว่า
1. เทศบาลตำบลโนนสะอาดนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาบูรณาการเรียกว่า นวัตกรรมโนนสะอาดส่งผลให้การให้บริการสาธารณะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมิติของจำนวนขั้นตอนในกระบวนการที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 394.4 มิติของระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 515 ในขณะที่มิติของปริมาณงานเฉลี่ยรายบุคคลและต้นทุนที่ใช้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 165.6 และ 656.4 ตามลำดับ โดยจุดที่เป็นคอขวดในกระบวนการทั้ง 4 ด้านอยู่ที่ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการที่ทำทั้งธุรการกองและธุรการกลางซึ่งมีหน้าที่ติดตามและส่งต่อเอกสาร ปัญหาคอขวดดังกล่าวนี้ถูกแก้ไขโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและแนวคิดการออกแบบเชิงดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. เพื่อยกระดับไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลในระดับวุฒิภาวะที่สูงขึ้น นอกจากการขยายผลไปยังกระบวนงานอื่นๆ ที่เหลือในหน่วยงานแล้ว การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษควบคู่กับจัดการส่งเสริมให้ความรู้ ทักษะและความสามารถทางด้านดิจิทัล ด้านข้อมูล และด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่บุคลากรและประชาชนเป็นแนวทางช่วยให้เกิดความยั่งยืนในการยกระดับไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ประชุมราศี ก. (2024). การวิเคราะห์กระบวนการเพื่อประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะรูปแบบดิจิทัล กรณีศึกษา เทศบาลตำบลโนนสะอาด จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 24(2), 31–44. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/270640
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤษดา ประชุมราศี. (2565). การประเมินการตอบสนองของการประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัลในการรับเรื่องร้องทุกข์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), 363-373.

ณัฏฐวีร์ อินทรเกษม, ยุรพร ศุทธรัตน์ และพิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์. (2561). การนำ Swim Lane Diagram มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ. วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น: บริหารธุรกิจและภาษา, 6(2), 52-57.

บุรเทพ โชคธนานุกูล. (2565). อิทธิพลของประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะที่มีต่อปัจจัยพฤติกรรมองค์การของบุคลากรทางการแพทย์ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 20(2), 102-115.

บูรณจิตร แก้วศรีมล. (2565). การให้บริการสาธารณะภายใต้แนวคิดรัฐบาลดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(5), 84-97.

ปิยะ กล้าประเสริฐ. (2559). การประเมินประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 215-227.

วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). แบบสำรวจระดับความพร้อมและวุฒิภาวะขององค์กรในการพัฒนาไปสู่รัฐบาลดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://www.ocsc.go.th/digital_hr/mda

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). พ.ร.บ.ธุรกรรมฯ เดอะซีรีส์. เข้าถึงได้จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Electronic-Transactions-Act-the-Series_Ep1.aspx

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2566). ผลสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย ประจำปี 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dg-readiness-survey/readinesssurvey66/101173/

สุขุม รัตนเสรีเกียรติ. (2563). ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล (Efficiency VS Effectiveness). เข้าถึงได้จาก https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=4744

Bal, J. (1998). Process analysis tools for process improvement. The TQM Magazine, 10(5), 342-354.

Bansal, S. K., & Kagemann, S. (2015). Integrating Big Data: A Semantic Extract-Transform-Load Framework. Computer, 48(3), 42-50.

Danaher, P. J., & Mattsson, J. (1998). A comparison of service delivery processes of different complexity. International Journal of Service Industry Management, 9(1), 48-63.

Kemp, S. (2023). Digital 2023: Thailand. Retrieved from https://datareportal. com/reports/digital-2023-thailand

Kraus, S., et al. (2021). Digital Transformation: An Overview of the Current State of the Art of Research. SAGE Open, 11(3), 1-15.

Larsson, A., & Teigland, R. (2019). Digital Transformation and Public Services: Societal Impacts in Sweden and Beyond. New York: Taylor & Francis.

Marchionini, G., Samet, H., & Brandt, L. (2003). Digital Government. Communications of the ACM, 46(1), 24-27.

Mihaiu, D. M., Opreana, A., & Cristescu, M. P. (2010). Efficiency, Effectiveness and Performance of the Public Sector. Romanian Journal of Economic Forecasting, 4(1), 132-147.

Milakovich, M. E. (2022). Digital governance: Applying advanced technologies to improve public service. (2nd ed.). New York: Taylor & Francis.

Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). (2014). OECD Recommendation on Digital Government Strategies. Retrieved from https://www.oecd.org/gov/digital-government/recommendation-on-digital-government-strategies.htm

Rummler, G. A., & Brache, A. P. (2012). Improving performance: How to manage the white space on the organization chart. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Ubaldi, B., & Okubo, T. (2020). OECD Digital Government Index (DGI): Methodology and 2019 results. Retrieved from https://doi.org/10.1787/b00142a4-en

Vassiliadis, P., Simitsis, A., & Baikousi, E. (2009). A taxonomy of ETL activities. In Proceedings of the ACM twelfth international workshop on Data warehousing and OLAP, November 6, 2009, (Pages 25-32). New York: Association for Computing Machinery.

Worthington, A. C., & Dollery, B. E. (2001). Measuring Efficiency in Local Government: An Analysis of New South Wales Municipalities’ Domestic Waste Management Function. Policy Studies Journal, 29(2), 232-249.