ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

อนันต์ ลากุล
ทักษิณ แก้วประเสริฐ
ธมลวรรณ เสนีย์วงษ์ ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัล และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 40 คน ได้แก่ ห้อง ป.2/1 (กลุ่มทดลอง) และห้อง ป.2/3 (กลุ่มควบคุม) ของโรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test for Independent Samples และการทดสอบค่า f-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเรื่องการเขียนสะกดคำของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัลสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความพึงพอใจทางการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ลากุล อ., แก้วประเสริฐ ท. ., & เสนีย์วงษ์ ณ อยุธยา ธ. . (2024). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 24(2), 147–160. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/270914
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช และเกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ. (2564). วิธีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2564). เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สำหรับการวิจัยทางการศึกษาในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

เฉลิม เพิ่มนาม. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนสะกดคำและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึก. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ญาณิศา เนียมหอม. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสื่อสารวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัลกับการสอนปกติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2562). หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระนิวัฒน์ มหาโชติวฑฺฒโน และคณะ. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยแบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิค TGT เรื่อง คํายืมภาษาบาลี-สันสกฤตในภาษาไทย สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 313-327.

วัชพล วิบูลยศริน. (2561). วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). Digital Learning. เข้าถึงได้จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/Digital%20Learning_1567488037.pdf

ศิรินภา โพธิ์ทอง และฐาปนี สีเฉลียว. (2560). ผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์เรื่อง การสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันภาษาไทย. (2565). คู่มือการดําเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสําเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). เข้าถึงได้จาก http://nscr.nesdc.go.th

สุธิดา งิมขุนทด, ณัฐพล รําไพ และวัตสาตรี ดิถียนต์. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมวิชาภาษาไทยเรื่องการอ่านสะกดคําร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 190-199.

โสภิตา มูลเทพ และศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคําของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 550-568.

Jolliffe, W. (2007). Cooperative learning in the classroom putting it into practice. London: EC1Y Pual chapman publishing.