อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลทางรวม และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วย ตัวแปร 3 ตัว คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา บรรยากาศการสร้างนวัตกรรม และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 320 คน ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์และข้อคำถาม ระหว่าง 0.80-1.00 และทำการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง เพื่อเป็นการตรวจสอบความกลมกลืนระหว่างโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวแปรบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู นอกจากนี้ตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครู โดยมีตัวแปรบรรยากาศการสร้างนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน
2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติ Chi-square เท่ากับ 61.59 ค่า df = 51 ค่า p-value = .140 ดัชนี GFI = .970 ดัชนี AGFI = .950 ค่า SRMR = .025 ค่า RMSEA = .025 และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของครูได้ ร้อยละ 49 (R2 = .49)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
เกษสุดา บูรณศักดิ์สถิตย์. (2562). พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โชติกา จันทร์อุ่ย. (2562). พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณฐปกรณ์ ตั้งสุกิจจากรณ์. (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในงานของพนักงานบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ตรีทิพ บุญแย้ม. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลและระดับกลุ่มงานเพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในบริษัทเอกชนของไทย. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ.
ประเวช ชุ่มเกสรกูลกิจ และศจีมาจ ณ วิเชียร. (2561). พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน แนวคิด ปัจจัยเชิงสาเหตุ ความท้าทาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10(1), 25-41.
พัชสิรี ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชชพงษ์ ชัชวาลย์. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย: ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนข้ามประเภทองค์การ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ลักขณา ศรีบุญวงศ์. (2563). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงานและผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
วัลลภ วรรณโอสถ และประสพชัย พสุนนท์. (2562). บรรยากาศการสร้างนวัตกรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(4), 846-858.
ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของบุพปัจจัยทางการจัดการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน. การประชุมงานวิจัยด้านการบริหารจัดการธุรกิจ (BMRC) ครั้งที่ 5, 16 พฤศจิกายน 2555, (หน้า 168-187). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมนึก เพชรช่วย และสมเดช สิทธิ์พงค์พิทยา. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ องค์การแห่งการเรียนรู้และพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1,2,3,4 และ 6. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 193-204.
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เข้าถึงได้จาก http://www.home.skn.go.th/main/images/iTA/OperatingPlan4.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). ประเด็นยุทธศาสตร์เป้าประสงค์. เข้าถึงได้จาก https://www.opdc.go.th/content/ODY
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. เข้าถึงได้จาก https://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf
สิรภพ สมอุดร และสุชาดา นันทะไชย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมนวัตกรรมของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 391-406.
Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectation. New York: The Free Press.
Krejcie, R. V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Thurlings, M., Evers, A. T., & Vermeulen, M. (2015). Toward a model of explaining teachers’ innovative behavior: A literature review. Review of educational research, 85(3), 430-471.
Yuan, F., & Woodman, R. W. (2010). Innovative Behavior in the Workplace: The Role of Performance and Image Outcome Expectations. Academy of Management Journal, 53, 323-342.