แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนฯ 2) สร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนฯ และ 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการ 3 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ครูโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 243 คน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา ด้านการบริหารสถานศึกษา และด้านการส่งเสริมทักษะสมอง รวมจำนวน 9 คน และ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI modified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านความรู้ รองลงมาคือ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ ตามลำดับ
2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ หลักการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนในโรงเรียน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ วิธีการสำหรับครูและผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ เงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนฯ และข้อเสนอแนะในการนำแนวทางไปใช้
3. ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของนักเรียนฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.79 และ 4.52 ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). 3 ทักษะที่ตลาดงานต้องการกับโจทย์ของภาคการศึกษาที่ต้องปรับตัว. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/education/1101425#google_vignette
ขวัญสุดา อ่วมสะอาด. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฏฐณี สุขปรีดี. (2564). การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ในสภาวะวิกฤต. เข้าถึงได้จาก https://www.eef.or.th/article-executive-functions-151221/
ตฤณ หงษ์ใส และอัจฉรีย์ ไกรกิจราษฎร์. (2563). สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 31-50. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/226147/165160
ธนวัฒน์ ช่วยพัทลุง, พระครูพิจิตรศุภการ, สามิตร อ่อนคง และพระมหาสมปอง ฐานิสฺสโร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 7(2), 221-234. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ambj/article/view/254467/174893
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ. เข้าถึงได้จาก https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/68689
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, ปนัดดา ธนเศรษฐกร และอรพินท์ เลิศอาวัสดาตระกูล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.
บังอร เสรีรัตน์. (2565). ครูกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(1), 1-11. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/260306/175291
มลฤดี สวนดี. (2565). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. เข้าถึงได้จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/
สานิตา แดนโพธิ์. (2560). สมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์). (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308