อาหารในวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับระบบนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวไทลื้อบ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ธีระพงษ์ มีไธสง
สิงทอง เพื่อพม
สีสุลี พมมะแสง
มิดตะนา หัดสะจัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาหารในวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับระบบนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวไทลื้อบ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เครื่องมือคือ การสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม ใช้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์และนำเสนอเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า อาหารที่นิยมนำเอาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาปรุง แบ่งได้ 10 ประเภท คือ 1) ลาบ 2) คั่ว 3) ต้ม 4) แกง 5) น้ำพริก 6) เอ๊าะ 7) ซุป 8) หมก 9) ประเภทของหวาน 10) ประเภทอื่นๆ อาหารเหล่านี้สัมพันธ์กับระบบภูมินิเวศการตั้งถิ่นฐานในพื้นถิ่นบริเวณที่ราบที่รอบล้อมด้วยภูเขา มีหนองน้ำไหลผ่านชุมชนและบริเวณที่ทำเกษตรกรรมตลอดทั้งปี ทำให้เกิดความชุ่มชื้นเหมาะแก่การทำการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย โดยเฉพาะข้าวและพืชผักสวนครัว แต่พืชหลายชนิดเกิดเองตามธรรมชาติสามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งปี ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์จะนิยมกินปลาเป็นหลัก เนื้อสัตว์ใหญ่นิยมในงานบุญประเพณี อาหารที่นิยมคือ ลาบ ส่วนเครื่องปรุงจะใช้น้ำปูแทนปลาร้า ชาวไทลื้อไม่นิยมกินอาหารประเภทหวานในชีวิตประจำวัน จะทำอาหารประเภทหวานเพียงในงานบุญหรือพิธีที่สำคัญๆ เท่านั้น

Article Details

How to Cite
มีไธสง ธ., เพื่อพม ส. ., พมมะแสง ส., & หัดสะจัน ม. . (2025). อาหารในวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับระบบนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวไทลื้อบ้านนายางใต้ เมืองน้ำบาก แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 25(1), 31–48. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/276736
บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ธิติ ไวกวี. (2562). ขนมดอกซ้อแห่งภูมิปัญญาไทลื้อ (พะเยา): กระบวนทัศน์การสร้างโมเดลทางกฎหมายเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพชุมชน. วารสารนิติ รัฐกิจ และสังคมศาสตร์, 3(2), 87-123. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/lawcrru/article/view/187828/145207

นิชชิมา บุญเฉลียว. (2553). อาหารกับพิธีกรรม: การประดิษฐ์สร้างความทรงจำทางสังคมของชาวลื้อพลัดถิ่นในเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2(2), 107-132. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/93789/73440

ปิยะนาฎ จันทร์กระจ่าง, ศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา และเอกกวีร์ วินิจเขตคําณวน. (2567). การพัฒนาอาหารพื้นถิ่นและวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการสู่สํารับอาหารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนไทลื้อหมู่บ้านหาดบ้าย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 18(1), 1-12. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/271531/176275

เปลวเทียน เจษฎาชัยยุทธ์ และอมรฉัฐ เสริมชีพ. (2564). “ไค” พืชภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การกลายเป็นอาหารอัตลักษณ์ในเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง และผลกระทบจากการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 135-159. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/article/view/249094/169769

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2553). วัฒนธรรมอาหารในงานประเพณีของชาวไทลื้อ. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมใจ แซ่โง้ว และวีระพงค์ มีสถาน. (2541). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลื้อ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสาวภา ศักยพันธ์. (2558). วัฒนธรรมอาหารไทลื้อในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง: ไทย จีน พม่า และลาว. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF Thailand). (2564). ข้อมูลทั่วไปของแม่น้ำโขง. เข้าถึงได้จาก http://www.wwf.or.th/what_we_do/wetlands_ and_production_landscape/mekongriver

อนุกูล ตันสุพล. (2559). กุญแจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน: นิเวศวิทยาวัฒนธรรม. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(1), 193-221. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82628/65660