การพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงระบบและสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงระบบ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก โดยนักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก โดยนักเรียนร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/12 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 40 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเชิงปฏิบัติการ คือ แผนการเรียนรู้ วงจรที่ 1-3 มีค่าเฉลี่ย 4.91, 4.93 และ 4.96 ตามลำดับ 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผล คือ (1) แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ (2) แบบประเมินสมรรถนะการคิดเชิงระบบ มีค่า IOC = 0.60-1.00 ทั้ง 3 วงจร (3) แบบประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม วงจรที่ 1-2 มีค่า IOC = 0.60-1.00 วงจรที่ 3 มีค่า IOC = 0.80-1.00 (4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ มีค่า IOC = 0.60-0.80 ทั้ง 3 วงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินผล คือ (1) แบบทดสอบวัดสมรรถนะการคิดเชิงระบบ มีค่า IOC = 0.80-1.00 มีค่า (p) 0.73-0.79 ค่า (r) 0.25-0.33 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 (2) แบบประเมินสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม วงจรที่ 1-2 มีค่า IOC = 0.60-1.00 วงจรที่ 3 มีค่า IOC = 0.80-1.00 ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้เรียนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของประเด็นปัญหาและวิธีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ยอมรับในความเห็นต่างที่เกิดประโยชน์ สมาชิกทีมมีปฏิสัมพันธ์กัน มีความรับผิดชอบ นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานในอนาคต
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนร้อยละ 82.50 มีสมรรถนะการคิดเชิงระบบร้อยละ 81.22 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. นักเรียน ร้อยละ 100 มีสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมร้อยละ 81.85 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
ณัฐวุฒิ นาสินพร้อม. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานผ่านสื่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธำรง บัวศรี. (2535). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
โรงเรียนสารคามพิทยาคม. (2566). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR). เข้าถึงได้จาก https://www.spk.ac.th/home/schoolqa/
วริศรา ปลายชัยภูมิ. (2566). การพัฒนาความคิดสรางสรรค์และสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อนักเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
ส่องหล้า ตันจินดาประทีป. (2554). การใช้ผังกราฟิกประกอบการเรียนการสอน เรื่องสารสนเทศและเรื่องการจัดหมวดหมู่หนังสือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสารการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโรงเรียนสุรนารีวิทยา. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ก้าวแรกการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL). กรุงเทพฯ: เอ็น. เอ. รัตนะ เทรดดิ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อภิรุณห์ ไลไธสง. (2560). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีเว็บสนับสนุน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกัลยาณวัตร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research reader. Victoria: Deakin University Press.