แนวทางเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกในจังหวัดสระแก้ว โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลบริบท ศักยภาพ ทุนทางสังคม และสภาพปัญหาในปัจจุบันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกในจังหวัดสระแก้ว 2) ศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกในจังหวัดสระแก้ว 3) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกในจังหวัดสระแก้ว โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มทอเสื่อกกในจังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอุตสาหกรรมทอเสื่อและแปรรรูปบ้านพระเพลิง ตำบลพระเพลิง อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกบ้านคลองสิบสาม ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอเสื่อกกไหลทอง ตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โดยมีประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มละ 7 คน รวม 21 คน เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอผู้ดูแลตำบล จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 23 คน และใช้รูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีศักยภาพในด้านเทคนิคการลายทอเสื่อที่มีลวดลายสวยงาม มีวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่เพียงพอ แต่ยังพบปัญหาในการดำเนินงาน เช่น สมาชิกที่ที่สูงวัย ส่งผลต่อการพัฒนากลุ่ม และการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้า
2. ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกในจังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านผู้นำ ด้านการผลิตสินค้า ด้านการตลาด ด้านเงินทุน ด้านสมาชิกและชุมชน ด้านการจัดการความรู้และข้อมูล และด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก
3. แนวทางเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกกในจังหวัดสระแก้ว โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ การทำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบเครือข่าย การทำวิสาหกิจชุมชนแบบพ่อแม่ผลิตลูกขาย และการทำวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบ “ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมวิสาหกิจชุมชน”
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความ ให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความ ต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร วิชาการธรรม ทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้ง แสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์References
คณิดา ไกรสันติ และรัสมนต์ คาสี. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุขาวดี ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. ใน กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง (บ.ก.), การวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7, 23 มิถุนายน 2559 (หน้า 554-566). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส และปานแก้วตา ลัคนาวานิช. (2562). การพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจหมู่บ้านทำมาค้าขาย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวคุณค่า ชาวนาคุณธรรม จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 12(2), 101-118. https://abcjournal.trf.or.th/chabub/n28.aspx
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2542). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพลส โปรดักส์.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2538). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2537). ปัญหาและแนวโน้มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการศึกษา. เอกสารประกอบคำสอน หน่วยที่ 1-4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.