แนวคิดการบริหารการศึกษาตามหลักไตรสิกขากับแนวคิดตามทฤษฎีเชิงระบบเป็นความสอดคล้องกันที่ลงตัว

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ทองทิพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่นานาอารยประเทศทั้งหลาย ได้นามาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ในประเทศของตนเองอย่างแพร่หลายเนื่องจากว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพประการหนึ่งซึ่งสามารถนามาใช้ในการพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงามได้ทั้งทางด้านกายภาพ ทางด้านสังคม ทางด้านจิตใจและทางด้านสติปัญญาสาหรับทางด้านกายภาพนั้น การศึกษาเป็นเครื่องมือทาให้มนุษย์รู้จักวิธีการพัฒนาสุขภาพร่างกายของตนทั้งทางด้านสุขอนามัย ตลอดทั้งการพัฒนาให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณมิให้เกิดโทษ เป็นต้น ทางด้านสังคมนั้น การศึกษาเป็นเครื่องมือทาให้มนุษย์รู้จักวิธีการพัฒนาความประพฤติ ทาให้มนุษย์เป็นผู้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่ละเมิดกฎกติกาที่ดีงามของสังคมไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหายทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดีและเกื้อกูลกัน ให้ความสัมพันธ์ที่ดี ช่วยเหลือ เกื้อกูล ไม่เบียดเบียดซึ่งกันและกัน เป็นต้น ทางด้านจิตใจนั้น การศึกษาเป็นเครื่องมือทาให้มนุษย์รู้จักวิธีการพัฒนาด้านจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลายเช่น เรื่องของคุณภาพจิต สมรรถภาพจิตใจ และด้านสุขภาพจิต เป็นต้น ทางด้านสติปัญญานั้น การศึกษาเป็นเครื่องมือทาให้มนุษย์รู้จักวิธีการฝึกอบรมปัญญาให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ตลอดทั้งเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริง สามารถทาจิตใจให้เป็นอิสระทาตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพันจากความทุกข์ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา การพัฒนามนุษย์ให้มีความเจริญงอกงามได้ตามที่กล่าวมานั้น ในปัจจุบันนานาอารยประเทศทั้งหลายส่วนใหญ่ล้วนได้นาเอาการศึกษามาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ มีอยู่ในประเทศของตนทั้งสิ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.