วัดเขาตาคง จังหวัดสุรินทร์: รูปแบบนวัตวิถีด้านสาธารณสุขพื้นฐานตามวิธีทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระมนต์รัก รกฺขิโต
พระภัทรชัยญกรณ์ ขนฺติยุตฺโต
ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ในการเสนอ 4 ประเด็น คือ (1) เพื่อนำเสนอประวัติและบริบทของวัดเขาตาคง จังหวัดสุรินทร์ (2) เพื่อสำรวจแนวคิดเรื่องสาธารณสุขพื้นฐาน (3) เพื่อนำเสนอแนวคิด รูปแบบและความสำคัญของนวัตวิถี และ (4) ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบนวัตวิถีด้านสาธารณสุขพื้นฐาน ของวัดเขาตาคง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้การศึกษาจากข้อมูลเชิงเอกสาร และการลงสัมภาษณ์ภาคสนามแล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการศึกษาพบว่า หลักการสำคัญของนวัตวิถีด้านสาธารณสุขพื้นฐาน คือการนำเอาความรู้และความเข้าใจให้เกิดกับชุมชน โดยการใช้วิถีชีวิตของตนในชุมชน วัฒนธรรม คติความเชื่อ มาใช้ในการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในเรื่องของ ไตรสิกขา คือ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา มาประยุกต์ใช้กับ หลักภาวนา 4 กล่าวคือ เมื่อเราปฏิบัติตามศีล สมาธิแล้วก่อให้เกิดปัญญาและการใช้ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา เพราะการรักษาสุขภาพและการดำรงชีวิตต้องรู้เข้าเข้าใจตามหลักความเป็น ดังนั้น การศึกษารูปแบบนวัตวิถีด้านสาธารณสุขพื้นฐานตามวิธีทางพระพุทธศาสนาก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆด้านการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน การนำวิถีชีวิตของคนในชุมชนมาพัฒนา สร้างความสุขได้อย่างถาวร ตลอดจนทำให้รู้วิธีการรักษาสุขภาวะโดยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหา เกิดเป็นองค์ประกอบที่สร้าง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความสุขตามความเป็นจริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมอนามัย. (2562). แนวทางการดำเนินงานวัดส่งเสริมสุขภาพ ประจำปี 2562. เข้าถึงเมื่อ (10 สิงหาคม2562). เข้าถึงได้จาก (http://hp.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index_th)
พระมหาสากล สุภรเมธี (เดินชาบัน). (2558). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามแนวพุทธปรัชญา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย.
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,ความหมายของการส่งเสริมสุขภาพ,งานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุไทยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). (2562). ความหมายของนวัตกรรมสร้างเสริม
สุขภาพ. เข้าถึงเมื่อ (10 สิงหาคม 2562). เข้าถึงได้จาก.( https://www.thaihealth.or.th/)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. นครปฐม: วัดญาณเวศวกัน.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. องค์ประกอบและหลักการของงานสาธารณสุขมูลฐาน,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). (2562). เข้าถึงเมื่อ (10 สิงหาคม
2562). เข้าถึงได้จาก. ( https://www.thaihealth.or.th/)
วาสารศาสตร์พยาบาลและสาธารณสุข (การสาธารณสุขมูลฐาน 18 JUN 2014). เข้าถึงเมื่อ (3 สิงหาคม 2562). เข้าถึงได้จาก (http://methawitpublichealth.blogspot.com/2014/06/blog- post_1425.html)
นายธีระพงษ์ โสดาศรี. (2562). อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์,เรียบเรียงจากกรมการพัฒนาชุมชน.เข้าถึงเมื่อ (10 สิงหาคม 2562). เข้าถึงได้จาก (https://www.thailandplus.tv/?p=53463)
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (2562). โครงการ OTOP นวัตวิถีเชื่อมโยงภูมิปัญญา วิถีชุมชน.(3 สิงหาคม 2562). เข้าถึงได้จาก ( http://nawatwithi.com/about/)