พระพุทธศาสนากับสถาบันครอบครัวไทยยุค 4.0 เพื่อการส่งเสริมความสุขในครอบครัว

Main Article Content

มนูญ สอนโพนงาม
สุนันท์ เสนารัตน์

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนากับสถาบันครอบครัวมีความเกี่ยวข้องกันในการสร้างความสุข ความเจริญ และความก้าวหน้าในความเป็นอยู่แบบครอบครัว ให้แก่สมาชิกของครอบครัวด้วยนำหลักศาสนาไปประยุกต์ใช้ คือ ฆราวาสธรรม เพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่ได้เกิดขึ้นกับครอบครัว เช่น มีความเห็นที่แตกต่างกัน นิสัยส่วนตัวที่ไม่ยอมปรับ ขาดความรับผิดชอบ มีนิสัยเจ้าชู้ เอาแต่สนุกสนานอย่างเดียว มิได้คำนึงถึงความเสียหาย มิได้ใส่ใจต่อความเป็นผู้นำ แสดงออกซึ่งความเป็นคนมักง่าย สิ่งเหล่านี้ เป็นเหตุแห่งความเดือนร้อน เมื่อมีครอบครัวแล้วจะต้องปรับตัวอย่างปฏิเสธเสียมิได้ ต้องมีความจริงใจให้แก่กัน ฝึกตนที่จะยอมรับความเห็นของอีกฝ่ายที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน อดทนในทุกสถานการณ์กับสิ่งที่เกิดขึ้น ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม แสดงออกในความเป็นสามีและภรรยาอย่างถูกต้องในการปฏิบัติต่อกัน พระพุทธศาสนา ยกเอาความจริงใจในความเป็นคนมีผัวเดียว เมียเดียว เป็นสิ่งที่เหมาะอย่างยิ่งในบริบทของสังคมไทยและตามด้วยความเป็นบุคคลที่อดกลั้นอย่างยิ่งต่ออารมณ์ที่ชอบและไม่ชอบ อย่างรู้ทันในความเป็นคนมีสติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำนง อดิวัฒน์สิทธิ์ และคณะ. (2545). สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประยงค์ แสนบุราณ. (2557). พระพุทธศาสนาเถรวาท. ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
พระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์ ป.ธ.9). (2555). เบญจศีลเบญจธรรม : อุดมชีวิตของมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ต้นบุญ.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2540). บทบาทครอบครัวต่อการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ในการพัฒนาครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ.