คติคำสอน : เครื่องประกอบพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ของชาวไทยเขมรสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเชื่อและพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์นั้นเป็นพิธีกรรมเพื่อขจัดสิ่งเลวร้าย ที่เราเรียกว่า เคราะห์ ที่เกิดขึ้นในร่างกายและจิตใจที่ทำให้เกิดภัยอันตรายในรูปแบบต่าง ๆได้ตามคติความเชื่อของชาวไทยเขมรสุรินทร์ตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์นี้มีการผสมผสานเข้ากับลัทธิพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์แบบดั้งเดิมที่ยังมีการรักษาไว้ตั้งแต่โบราณมา อิทธิพลที่มาจากความเชื่อ และการดำเนินชีวิตต่างมุ่งประสงค์ที่ต้องการความสวัสดีมงคล เกิดโชคลาภ และความสุขปราศจากความทุกร้อน
เครื่องในการประกอบพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ของชาวไทยเขมรสุรินทร์ จึงมีแบบแผนของแต่ละกลุ่มอาจารย์แต่โดยมากตามวัฒนธรรมพื้นบ้านก็จะนำเอาวัสดุ อุปกรณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ การกิน การอยู่ เครื่องนุ่งห่มในการนำมาเข้าพิธีสะเดาะเคราะห์ ด้วยเพราะรูปแบบวิถีชีวิตและการดำเนินยังจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาวไทยเขมรสุรินทร์นี้ด้วย
คำสอนที่ปรากฏในเครื่องพิธีกรรมหรือแม้นแต่การประกอบพิธีกรรม เป็นแบบคติคำสอนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและพิธีกรรมพื้นบ้านที่มาแต่โบราณ คำสอนโดยรวมนั้นหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องการใช้ชีวิต การดำเนินชีวิต และความไม่ประมาณในอายุ วัย ตลอดถึงต้องระวังคำพูดคำจาเมื่อเจรจาพาที หรือการวางตัวที่อาจนำมาซึ่งภัยอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ ได้
Article Details
References
มานิต มานิตเจริญ. (2514). พจนานุกรมใหม่ – ทันสมัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การพิมพ์พระนคร.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต ). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปทุมสังฆการ (สุพรรณ ฐิตปญฺโญ). (2554). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องการต่ออายุในทางพระพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์ต่ออายุในจังหวัดสุรินทร์.สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราบบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น
ศิริพร สุเมธารัตน์. (2554). ประวัติท้องถิ่นเมืองสุรินทร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอเดียน สโตร์.
กรุณา- เรืองอุไร กุศลาศัย. (2541). แปลและเรียบเรียง มหาภารตะยุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยาม.
วิชาภรณ์ แสงมณี. (2536). ผีในวรรณคดี. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.
พระมหาทวีศักดิ์ ใครบุตร. ( 2544). ดิรัจฉานวิชา. ศึกษาวิเคราะห์เชิงทรรศนะและแนวปฏิบัติใน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุนทร ณ รังสี. (2542). ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
รายชื่อผู้สัมภาษณ์
1. สัมภาษณ์ พระครูประทุมสังฆการ สุพรรณ ฐิตปญฺโญ (พระอาจารย์ผู้ทำพิธีกรรม), 5 เมษายน 2559
2. สัมภาษณ์ พระสมชาย สิริวฒฺโก (พระอาจารย์ผู้ทำพิธีกรรม) ,5 เมษายน 2559
3. สัมภาษณ์ พระประดิษฐ์ คุตฺตปัญโญ (พระอาจารย์ผู้ทำพิธีกรรม), 5 กุมภาพันธ์ 2559
4. สัมภาษณ์ แม่ชีบัวลิน หมื่นยิ่ง, 2 มกราคม 2560
5. สัมภาษณ์ นายคณิสร โชติธณศิริ,5 เมษายน 2559
6. สัมภาษณ์ นายณรงค์ เชื้อเมืองพาน,18 ธันวาคม2559
7. สัมภาษณ์ นายบุญสา คลังฤทธิ์,2 มกราคม 2560
8. สัมภาษณ์ สันชัย สังข์ทอง,(นักวิชาการ),21 มิถุนายน 2559
9. สัมภาษณ์ นายดำ สระแก้ว,5 มีนาคม 2559