ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระไตรปิฎก : ด้านคติธรรมและสหธรรม

Main Article Content

พระปลัดสุระ ญาณธโร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งนำเสนอประโยชน์ของการศึกษาพระไตรปิฎกในด้านคติธรรมและสหธรรม โดยใช้การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า ในการดำเนินชีวิตและการดำรงชีพอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ย่อมต้องการความสงบสุขเป็นสำคัญ พระไตรปิฎกหรือพระพุทธศาสนาคือพระธรรมวินัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อบูรณาการประยุกต์ใช้สร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติสุขยั่งยืน โดยเฉพาะการบูรณาการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งด้านคติธรรมและด้านสหธรรม ประโยชน์ด้านคติธรรม ได้แก่ หลักธรรมในการถือครองเพื่อดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละคน คือแบบอย่างแนวทางการดำเนินชีวิต เช่น การแสดงความเคารพนับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ การแสดงความเคารพนับถือบิดามารดา และผู้มีอุปการคุณ ความเป็นผู้ใจบุญ เป็นต้น ประโยชน์ด้านสหธรรม ได้แก่ หลักธรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีทางสังคมทุกระดับ การคบหาสมาคมกัน หลักธรรมเพื่อการดำรงชีพอยู่ร่วมกันในสังคมให้มีความสุข เช่น ความเป็นมิตรไมตรี การเคารพเทิดทูนพระ มหากษัตริย์ ความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ การแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที การให้อภัยให้โอกาสและให้ความหวังกำลังใจ การให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือกันและความใจกว้างไม่ขัดแย้ง เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2551). พนจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
ฟื้น ดอกบัว. (2542). พระพุทธศาสนากับคนไทย. กรุงเทพฯ: โสภณการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2542). เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.