การฆ่าตัวตายในทัศนะของพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ธนู ศรีทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุการฆ่าตัวตายในทัศนะของพระพุทธศาสนา และเพื่อศึกษาผลของการฆ่าตัวตายในทัศนะของพระพุทธศาสนา ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คัมภีร์อรรถกถา เอกสารที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นนักวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล มี 2 แบบ ดังนี้ 1) แบบบันทึก มีอยู่ 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 เป็นแบบบันทึกสำหรับใช้บันทึกการค้นคว้าจาก เอกสารที่เกี่ยวข้อง ชุดที่ 2 เป็นแบบบันทึกสำหรับใช้บันทึกการค้นคว้าจากบันทึกการชันสูตรของตำรวจ 2) แบบสัมภาษณ์ ใช้สัมภาษณ์นักวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบ บรรยาย ผลของการวิจัยมีข้อค้นพบดังนี้


1. สาเหตุการฆ่าตัวตายในทัศนะของพระพุทธศาสนา พบว่า มีอยู่ 2 สาเหตุหลัก คือ 1) สาเหตุ ภายในตัวบุคคล แบ่งย่อยได้อีก 2 สาเหตุ ได้แก่ (1) สาเหตุด้านร่างกาย คือ ร่างกายเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ และรำงกายมีความพิการ (2) สาเหตุด้านจิตใจ ได้แก่ สภาพจิตใจที่ถูกวิภวตัณหาผลักดันทำให้เกิดความทุกข์ จึง อยากพรากพ้นดับสูญไปเสียจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้มนุษย์ตัดสินใจฆ่าตัวตาย 2) สาเหตุภายนอกตัว บุคคล แบ่งย่อยได้อีก 2 สาเหตุ ได้แก่ (1) สาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ คือ สภาพแวดล้อมที่ เป็นวัตถุ ได้แก่ สถานที่ บรรยากาศ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัว เป็นสิ่งเร้าให้มนุษย์ตัดสินใจฆ่าตัว ตาย (2) สาเหตุที่เกิดจากสภาพแวดล้อมด้านสังคม คือ สภาพแวดล้อมที่กดดันจากคนในสังคม ได้แก่ สถาบัน ครอบครัวมีปัญหา ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความรัก ปัญหาการศึกษา ปัญหาการทำงาน สังคมที่มีการแข่งขันสูง การเลียนแบบจากคนที่ฆ่าตัวตาย เป็นสาเหตุให้มนุษย์ตัดสินใจฆำตัวตาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) .(2538). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
สมภาร พรมทา (2542). พุทธปรัชญา : มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
สำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข.บทความด้านสุขภาพจิต ปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทย ข้อมูลสถิติ : สุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2545- 2546. (ออนไลน์). http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=835, (10 ต.ค. 2549)